กำหนดเป้าหมายต้านคอร์รัปชันอย่างไร เมื่อ CPI ยังไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ?

ทำไม CPI อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดี ?

 
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความพยายามที่จะเพิ่มคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index) หรือคะแนน CPI ที่เป็นตัวชี้วัดระดับการคอร์รัปชันของประเทศ ซึ่งจัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International)
 
โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 ที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ประเทศไทยจะต้องได้คะแนน CPI 57 คะแนนจาก 100 คะแนนเต็ม ภายในปี 2570 แต่ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่เคยได้คะแนนเกินครึ่งเลยสักครั้ง
 
ทำให้หลายคนกำลังมองว่าปัญหา คือการที่เรายังไม่สามารถยกระดับคะแนน CPI ได้ แต่ ศาสตราจารย์ Matthew C. Stephenson อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard Law School) ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและเป็นผู้ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับสากลมองว่า  “จริง ๆ แล้ว CPI อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดสำคัญที่จะนำมาตั้งเป็นเป้าหมายหลักของประเทศ อีกทั้งการนำ CPI มาใช้ อาจไม่ทำให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร”
 
จึงนำมาสู่การบรรยายในหัวข้อ “ข้อจำกัดของ CPI ในการใช้เป็นเกณฑ์การประเมิน KPI (ตัวชี้วัดในการประเมินความสำเร็จ) และข้อแนะนำในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน” ภายในงานประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อการส่งเสริมศักยภาพและขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับภูมิภาค หัวข้อ “ความท้าทายและโอกาสในการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) ของประเทศไทยอย่างมีส่วนร่วม” 
 

ร่วมหาคำตอบว่า ทำไม CPI จึงยังไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ? แล้วถ้าไม่ใช้ CPI ประเทศไทยจะกำหนดเป้าหมายในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ? รวมถึงข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยในมุมมองของศาสตราจารย์ Matthew C. Stephenson ในคลิปนี้ได้เลย !

You might also like...