ถ้าเราร่วมมือกัน จะช่วยต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างไร?

เมื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความท้าทายอย่างมาก แนวทางในการต่อต้านคอร์รัปชันจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ภาคธุรกิจ ภาคสังคม และประชาชน โดยเราต้องไม่มองว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง แล้วยังมีส่วนอื่น ๆ อีกหรือไม่ที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ? และเราจะสร้างความร่วมมือนี้ได้อย่างไรที่จะเอาชนะระบบโครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการทำให้เกิดปัญหาการคอร์รัปชันขึ้น ?

ชวนฟังข้อคิดเห็นน่าสนใจเกี่ยวกับความร่วมมือ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน จากเหล่าผู้แทนนานาประเทศที่เชี่ยวชาญด้านการทำงานต่อต้านคอร์รัปชัน ทั้งมาเลเซียสหรัฐฯ สาธารณรัฐเกาหลีสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย ในงานประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 โดย ศูนย์ KRAC หรือ KRAC Corruption

 

ดำเนินการร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC – United Nations Office on Drugs and Crime)สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Faculty of Law, Chulalongkorn University และ HAND Social Enterprise จํากัด

 

When anti-corruption is significant challenges, the approach to counter it must rely on collaboration from various sectors, including government sector, private sector, civil society, and the public. We should not view it as the responsibility of any individual alone but recognize that everyone else has a role to play as well. 

 

We invite you to explore the valuable insights on collaboration that can pave the way towards solving the problem of corruption. These perspectives are shared by anti-corruption experts from various countries, each holding extensive knowledge and experience in combating corruption, including Malaysia, The United States, Singapore, Indonesia, and Thailand. Their ideas and wisdom were generously shared during the International Conference on Anti-Corruption Innovations in Southeast Asia, held on June 16, 2023.

You might also like...