ทำไม CPI จึงยังไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ? แล้วถ้าไม่ใช้ CPI ประเทศไทยจะกำหนดเป้าหมายในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ? ร่วมฟังคำตอบจาก Professor Stephenson กับ 3 ประเด็นเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานในการเพิ่มคะแนนดัชนีการรับรู้การคอร์รัปชัน
ทำไม CPI อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดี ?
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความพยายามที่จะเพิ่มคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index) หรือคะแนน CPI ที่เป็นตัวชี้วัดระดับการคอร์รัปชันของประเทศ ซึ่งจัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International)
โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 ที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ประเทศไทยจะต้องได้คะแนน CPI 57 คะแนนจาก 100 คะแนนเต็ม ภายในปี 2570 แต่ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่เคยได้คะแนนเกินครึ่งเลยสักครั้ง
ทำให้หลายคนกำลังมองว่าปัญหาคือการที่เรายังไม่สามารถยกระดับคะแนน CPI ได้ แต่ Professor Matthew C. Stephenson จาก Harvard Law School ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและเป็นผู้ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับสากลมองว่า จริง ๆ แล้ว CPI อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดสำคัญที่จะนำมาตั้งเป็นเป้าหมายหลักของประเทศ อีกทั้งการนำ CPI มาใช้ อาจไม่ทำให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
ทำไม CPI จึงยังไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ? แล้วถ้าไม่ใช้ CPI ประเทศไทยจะกำหนดเป้าหมายในการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ? ฟังคำตอบจาก Professor Stephenson กับ 3 ประเด็นเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานในการเพิ่มคะแนนดัชนีการรับรู้การคอร์รัปชัน หรือ CPI
หัวข้อ
- Anti-Corruption
วันที่เผยแพร่
3 พฤษภาคม 2567
Related Topic