KRAC เข้าร่วมค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ “Infrastructure Anti-Corruption Accelerator (IACA) Thailand Bootcamp” จัดขึ้นโดย Accountability Lab (AL) และ Development Gateway: An IREX Venture (DG) ร่วมกับ Infrastructure Transparency Initiative (CoST) ภายใต้การทำงานกับ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และองค์กรต่อต้านการทุจริตแห่งประเทศไทย (ACT)
ในระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 คุณศุภวิชญ์ แก้วคูนอก ผู้จัดการศูนย์ KRAC ได้มีโอกาสเข้าร่วมค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ “Infrastructure Anti-Corruption Accelerator (IACA) Thailand Bootcamp”
โดยวัตถุประสงค์หลักของค่ายนี้คือการระดมความคิดเห็นจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการก่อสร้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในการประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศไทย โดยผู้เข้าร่วมงานมาจากภาคส่วนที่หลากหลาย ทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากสกอตแลนด์ของ CoST ภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และอูกันดา
นอกจากนี้ ในส่วนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากประเทศไทยมีทั้งจากหน่วยงานภาครัฐอย่างกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องนี้โดยตรง ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ประมูลงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์การระหว่างประเทศ และภาคการศึกษา
โดยวัตถุประสงค์หลักของงานนี้ มุ่งเน้นการทำความเข้าใจกระบวนการจัดสรรงบประมาณของกรุงเทพมหานคร และส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชาวกรุงเทพฯ การแลกเปลี่ยนประเด็นการใช้จ่ายงบประมาณของกรุงเทพมหานคร และออกแบบข้อเสนอแนะให้กรุงเทพมหานครรับทราบ รวมถึงการนำเสนอแพลตฟอร์ม Bangkok Budgeting เพื่อการทำงานและขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตผ่านข้อมูลเปิดและการมีส่วนร่วม เพื่อวางแผนการดำเนินงานเรื่องงบประมาณแบบมีส่วนร่วมในอนาคต
โดยกิจกรรมทั้ง 3 วันมีเป้าหมายในการระดมสมองที่แตกต่างกัน โดยในวันแรก มุ่งเน้นการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีของประเทศไทย เกี่ยวกับข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐของประเทศไทย ในขณะที่เดียวในช่วงบ่ายของวันดังกล่าวเป็นการนำเสนอแนวทางการยกระดับระบบดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยบทสรุปของการระดมสมองในวันแรกมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มการแข่งขันในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่สอง เป็นการนำเอาข้อเสนอจากวันแรกมาถกเถียงให้ลึกซึ้งเพื่อแสวงแนวทางในการแก้ไขปัญหา และยกระดับให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐมีความโปร่งใส เกิดการแข่งขันที่แท้จริง และประชาชนมีส่วนร่วมได้มากยิ่งขึ้น โดยในวงการพูดคุยและปรึกษาหารือตกลงกันที่การพัฒนาแดชบอร์ดใหม่เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลภาครัฐง่ายยิ่งขึ้นโดยเฉพาะภายใต้โครงการ CoST และติดตั้งระบบธงแดง เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของการประมูลโครงการ
สำหรับในส่วนของวันสุดท้าย เป็นการสนทนาในการจัดทำแผนเชิงละเอียดเพื่อให้หน่วยงานอย่างกรมบัญชีกลาง ของประเทศไทยสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ โดยมีการระบุกิจกรรมและช่วงเวลาที่ต้องดำเนินการเพื่อผลักดันแนวทางนี้สู่การปฏิบัติ มีการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องพูดคุยเพิ่มเติม รวมถึงการทำงานร่วมกันกับภาควิชาการและประชาสังคมในการสร้างแรงกระเพื่อมในการปฏิรูปครั้งนี้
โดยตลอด 3 วัน คุณศุภวิชญ์ แก้วคูนอก ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมถกเถียงในประเด็นต่าง ๆ ทั้งยังได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ KRAC ที่จะเกิดขึ้นให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม และได้แลกเปลี่ยนช่องทางการติดต่อระหว่างองค์การ เพื่อการพัฒนาเครือข่ายและร่วมงานระหว่างกันต่อไปในอนาคต
- Public Procurement
19 พฤศจิกายน 2567