KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I รู้จัก 6 การสนับสนุนของ UNDP ที่มีต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

รู้หรือไม่ คอร์รัปชันเองก็เชื่อมโยงกับการพัฒนานโยบายสาธารณะ ?

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) คือหน่วยงานพัฒนาขององค์การสหประชาชาติที่ทำงานเพื่อสนับสนุนงานของต่างประเทศ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ซึ่งมีทั้งหมด 17 ประการ โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชีวิตประชากรโลกให้ดีขึ้น เช่น การยุติความยากจน การยุติความหิวโหย สนับสนุนการศึกษาที่มีคุณภาพ การสนับสนุนน้ำสะอาดให้เข้าถึงประชากรทุกคน เป็นต้น ซึ่ง UNDP ได้รับการยอมรับและทำงานร่วมกับหลายองค์กรในระดับสากล

อย่างไรก็ตามแม้ UNDP จะมีความตั้งใจเพื่อให้เป้าหมายทั้งหมดสำเร็จภายในปี 2573 แต่ก็มีอุปสรรคสำคัญที่กำลังขัดขวางการพัฒนา นั่นคือการ “คอร์รัปชัน” ที่ได้ทำลายทรัพยากร และลดประสิทธิภาพของนโยบายสาธารณะ โดย UNDP มองว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนานโยบายสาธารณะคือความซื่อสัตย์ในการบริหารจัดการงบประมาณ และที่สำคัญคือความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล เพราะถ้าหากรัฐปล่อยให้เกิดการทุจริต ประชาชนก็จะไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลและทำให้ประชาธิปไตยในประเทศสั่นคลอน นำไปสู่การบริหารที่ขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถพัฒนาตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

UNDP จึงมีหน้าที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวเร่งให้สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs โดยงานสำคัญคือการส่งเสริมเรื่องของความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการต่อต้านการทุจริต และนำความรู้มาสนับสนุนทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในระดับประเทศ

โดยปัจจุบัน UNDP มี 6 แนวทางการสนับสนุนเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ดังนี้

1) การต่อต้านการคอร์รัปชันเพื่อการให้นโยบายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ

2) การกำกับดูแลด้านสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างเที่ยงธรรม โปร่งใส และมีความรับผิดชอบ

3) การต่อต้านการคอร์รัปชันเพื่อป้องกันความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ

4) ความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่รัฐ

5) การต่อต้านการคอร์รัปชันในการกำกับดูแลเศรษฐกิจและการเงินเพื่อการพัฒนา

6) การผลักดันตัวแทนที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการต่อสู้กับการคอร์รัปชัน

UNDP ได้เล็งถึงความเชื่อมโยงกันในการต่อต้านการคอร์รัปชันที่สัมพันธ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องความเป็นอยู่ของประชากรโลก ในอนาคตหากโลกของเราสามารถลดการคอร์รัปชันได้จริง แน่นอนว่าประชากรจะมีความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการศึกษาที่ดี อาหารที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี และโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้