คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ถ้าเราเลือกจะเปิด(โปง) และเราจะปลอดภัยไหม (?)

“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” โบราณท่านว่าเมื่อเราทำดี เราก็จะได้ผลดีเป็นการตอบแทน แต่ถ้าทำแต่ความชั่ว เราก็จะได้สิ่งที่ไม่ดีเป็นการตอบแทน ผู้อ่านเห็นด้วยกับสุภาษิตสอนใจนี้หรือไม่ครับ…… ถ้าทุกท่านได้คำตอบในใจกันแล้วผู้เขียนอยากชวนมองสุภาษิตดังกล่าวในมุมปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศของเรา คำตอบในใจของท่านยังเหมือนเดิมอยู่หรือไม่?

การคอร์รัปชันถือได้ว่าเป็นต้นตอของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าคนโกงมักมีเทคนิคการปกปิดหลักฐานและบิดเบือนเรื่องผิดให้กลายเป็นถูกได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น ทำให้การสอบสวนและรวบรวมหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีอาญากับคนโกงเหล่านี้มักเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพื่อให้การดำเนินการของรัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมสำคัญกับการรับบทบาทเป็น “ผู้เป่านกหวีด” (Whistleblower) ในการช่วยเฝ้าระวัง สอดส่อง และแจ้งเบาะแสเมื่อพบความไม่ชอบมาพากล การกระทำผิดต่อผลประโยชน์ในองค์กร หรือประโยชน์สาธารณะ

ฝ่ายวิชาการ ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ระบุว่า “ผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้เป่านกหวีดเปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาการคอร์รัปชัน และมีบทบาทสำคัญในการปราบปรามยับยั้งไม่ให้กระทำผิด” แต่ถึงอย่างนั้นผู้แจ้งเบาะแสอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการถูกคุกคาม ข่มขู่ หรือกลั่นแกล้งจากการนำข้อมูลของผู้กระทำผิดออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือส่งหลักฐานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ดังนั้นการให้หลักประกันการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสจึงเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้ผู้แจ้งเบาะแสรู้สึกปลอดภัยว่าจะได้รับการคุ้มครองจากที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม “เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนกล้าออกมาเป่านกหวีดเพื่อความถูกต้อง ภาครัฐจำเป็นต้องมีการออกแบบและบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความคุ้มครองและสร้างแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแส”

ในหลายประเทศได้มีกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ที่มีการคุ้มครองที่ครอบคลุมไปถึง “ผู้แจ้งเบาะแส” จะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยหลังเปิดเผยข้อมูล แต่ละประเทศก็จะมีรายละเอียดกฎหมายที่คุ้มครองแตกต่างกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสภายใต้กฎหมาย Whistleblower Protection EnhancementAct of 2012 (WPEA) ครอบคลุมการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรืออดีตเจ้าหน้าที่รัฐ ในประเทศอังกฤษมีกฎหมาย Public Interest Disclosure Act 1998 ที่ให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสครอบคลุมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ลูกจ้างภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทำสัญญาช่วงและผู้ฝึกงาน (Trainee) นอกจากนี้ในประเทศภูมิภาคเอเชียอย่างเกาหลีใต้ ก็มี พ.ร.บ. ว่าด้วยการคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะผู้แจ้งเบาะแส (PPIWA) ให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ครอบคลุมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานเอกชน และพนักงานต่างชาติของบริษัทเกาหลี รวมทั้งผู้ที่ทำงานในต่างประเทศด้วย รวมถึงมีการให้รางวัลเป็นเงินกับผู้แจ้งเบาะแสในรูปแบบเป็นเงินรางวัล เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยการสูญเสีย เป็นต้น

เมื่อหันกลับมาดูการคุ้มครองเบาะแสในประเทศไทย พบว่าปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสโดยเฉพาะ แต่จะกล่าวอ้างเอาการคุ้มครองพยานมาใช้กับผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน แม้แต่ใน พ.ร.บ. คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ได้ระบุไว้ว่าจะให้ความคุ้มครองเพียง “พยาน” ที่หมายถึงบุคคลที่สามารถถูกเรียกมาเพื่อให้ข้อเท็จจริงแก่รัฐ และตกอยู่ภายใต้กระบวนยุติธรรมแล้ว แต่ในทางกลับกันผู้แจ้งเบาะแสที่ต้องการเพียงแค่แจ้งข้อมูลแบบลับๆ โดยไม่อยากเปิดเผยตัวตน และไม่ยอมเป็นพยานก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ ทำให้หากถูกคุกคามหรือกลั่นแกล้งจากผู้กระทำความผิด จะไม่มีมาตรการคุ้มครองเยียวยาอย่างชัดเจน

อ้าว! ถ้าทำดีแล้วผลที่ได้เป็นเช่นนี้คำตอบในใจทุกท่านยังเห็นด้วยกับสุภาษิตที่กล่าวถึงเมื่อข้างต้นอยู่หรือเปล่าครับ?

สำหรับผู้เขียนมีความเห็นว่า เมื่อเปรียบสุภาษิต “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ผ่านมุมมองการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในบทบาทของผู้เป่านกหวีดแล้ว สุภาษิตก็เป็นดังคติสอนใจ คอยยึดเหนี่ยวจิตใจให้เราเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก็อาจเป็นเพียงนามธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้และไม่สามารถการันตีได้ว่าจะเกิดผลลัพธ์ตามการกระทำจริงหรือไม่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดภาครัฐควรมีกฎหมายที่รับรองและคุ้มครองการผู้แจ้งเบาะแสอย่างโดยเฉพาะ นิยามความหมายของผู้แจ้งเบาะแสให้มีความชัดเจน กำหนดหลักเกณฑ์ตัวบุคคลที่ได้รับคุ้มครองตามกฎหมาย และกำหนดบทลงโทษทางอาญาและวิธีการคุ้มครองจากการถูกปฏิบัติโดยไม่ชอบธรรมจากผู้กระทำผิดไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีการมอบรางวัลสิ่งจูงใจให้ผู้แจ้งเบาะแสที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปสู่การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้อย่างเห็นผล

ผู้เขียนเชื่อว่าประชาชนกล้าจะทำสิ่งที่ถูกต้อง และพร้อมเป่านกหวีดเมื่อพบการกระทำผิดต่อกฎหมายจึงอยากขอเสนอช่องทางการรับแจ้งเหตุสงสัยทุจริตคอร์รัปชันโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนผ่านไลน์แชตบอต “ฟ้องโกงด้วยแชตบอต” (@Corruptionwatch) ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ที่รองรับการใช้งานทั้งของประชาชนทั่วไป และบุคลากรในหน่วยงานรัฐ โดยเหตุสงสัยที่ได้รับจะถูกส่งต่อเหตุให้กับศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ (Corruption Deterrence Center) สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากเพจเครือข่ายสื่อภาคประชาชนอย่าง “เพจต้องแฉ”ในการช่วยติดตามและนำเสนอประเด็นผ่านสื่อโซเชียล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง

ท้ายที่สุดผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่า สักวันใดวันหนึ่งสังคมไทยจะไร้โกง ทุกภาคส่วนจะร่วมมือกัน เพราะการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันไม่สามารถทำได้ด้วยคนคนเดียว” ขอบคุณครับ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

รักษ์ป่า อู่สุวรรณ

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อผมเรียนรู้การต้านคอร์รัปชัน จากร้านซักผ้า

หรือนี่คือช่างเชื่อมตัวจริง ? เมื่ออาจารย์ต่อภัสสร์พาคุณไปเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันจากการตามหาร้านซักผ้าในสหรัฐอเมริกา !

ลงมือสู้โกง : ไข ‘เครื่องมือต้านโกง’จากประเด็นร้อนเสาไฟกินรี

จากการตั้งคำถามด้วยภาพเสาไฟกินรีไม่กี่ต้นในซอยด้วยมือถือเครื่องเดียว ลุกลามสู่การตรวจสอบงบติดตั้งเสาไฟประติมากรรมทั่วประเทศได้อย่างไร

ลงมือสู้โกง : ฟื้นฟูจากโควิด และระบบตรวจสอบภาคประชาชน

จะวางใจได้อย่างไร ว่าเงินของเราถูกนำไปใช้แก้ปัญหาโควิด-19 อย่างคุ้มค่า ?นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาด้านสาธารณสุขในการป้องกันและรักษาผู้ป่วย ตามมาด้วยปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราการว่างงานและอัตราการเลิกจ้างสูงขึ้น

You might also like...

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้