(วช.) จับมือจุฬาฯ พร้อมเป็นศูนย์กลางความรู้ระดับภูมิภาค สร้างศูนย์ความรู้เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (KRAC) เพื่อผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางความรู้ระดับภูมิภาค

เมื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความท้าทายอย่างมาก แนวทางในการต่อต้านคอร์รัปชันจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ภาคธุรกิจ ภาคสังคม และประชาชน โดยเราต้องไม่มองว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง แล้วยังมีส่วนอื่น ๆ อีกหรือไม่ที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ?และเราจะสร้างความร่วมมือนี้ได้อย่างไรที่จะเอาชนะระบบโครงสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการทำให้เกิดปัญหาการคอร์รัปชันขึ้น ? 

ชวนฟังข้อคิดเห็นน่าสนใจเกี่ยวกับความร่วมมือ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน จากเหล่าผู้แทนนานาประเทศที่เชี่ยวชาญด้านการทำงานต่อต้านคอร์รัปชัน ทั้งมาเลเซียสหรัฐฯ สาธารณรัฐเกาหลีสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย ในงานการประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 โดย ศูนย์ KRAC หรือ KRAC Corruption ดำเนินการร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.

สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC – United Nations Office on Drugs and Crime)

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Faculty of Law, Chulalongkorn University และ HAND Social Enterprise จํากัด

You might also like...