Duis aute irure dolor in reprehenderit in voluptate velit esse cillum dolore eu fugiat nulla pariatur. Excepteur
- งานวิจัยชิ้นนี้สามารถยืนยันผลได้ว่า ปัจจัยซ่อนเร้นตามลักษณะทางวัฒนธรรม ค่านิยม และทัศนคติของคนทั่วไป สามารถนำมาแบ่งแยกกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมต่อต้านคอร์รัปชันที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลักษณะแฝงร่วมที่ชัดเจนระหว่างกลุ่มที่ต่อต้านคอร์รัปชันสูงและต่อต้านคอร์รัปชันต่ำนั้น ประกอบด้วย บรรทัดฐานส่วนตน ความเชื่อในอำนาจของตน ความกลัวความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ ความหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนของกระบวนการ และความยึดมั่นในผลประโยชน์ อีกทั้งเมื่อบรรทัดฐานส่วนตนสูงขึ้นการต่อต้านคอร์รัปชันก็จะสูงขึ้นด้วย
- งานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอแนะว่า การให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกเพื่อสร้างบรรทัดฐานส่วนตนด้านการคอร์รัปชัน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นให้คนลุกขึ้นมาต่อต้านคอร์รัปชัน ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่มีความเป็นชายต่ำ หรือในที่นี้หมายถึงมีความดุดัน บึกบึนต่ำ จะมีการต่อต้านคอร์รัปชันสูง ซึ่งสามารถอภิปรายได้ว่า การปลูกจิตสำนึกและทัศนคติด้านความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิงสามารถ เป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านคอร์รัปชันได้มากขึ้น
- งานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอแนวทางการต่อยอดข้อเสนอแนะงานวิจัยว่า สามารถนำองค์ความรู้ด้านแนวทางการจัดจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีพฤติกรรม การต่อต้านคอร์รัปชันและการจัดทำกลยุทธ์ในการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผ่านการจัดทำ digital content ในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น วิดีโอ และอินโฟกราฟิก โดยเน้นสื่อสารเรื่องการสร้างบรรทัดฐานส่วนตนด้านการคอร์รัปชัน และการปลูกจิตสำนึก และทัศนคติด้านความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิง
ต่อภัสสร์ ยมนาค, เอกก์ ภทรธนกุล, อภิชาต คณารัตนวงศ์, ธานี ชันวัฒน์, ปฏิพัทธ์ สุสำเภา. (2563).
การตลาดเชิงประยุกต์สำหรับการกระตุ้นและจําแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน.
แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคมแผนงานคนไทย 4.0 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
- ผศ.ดร. ต่อภัสสร์ ยมนาค
- ผศ.ดร. เอกก์ ภทรธนกุล
- ผศ.ดร. อภิชาต คณารัตนวงศ์
- ผศ.ดร. ธานี ชัยวัฒน์
- นายปฏิพัทธ์ สุสำเภา
การตลาดเชิงประยุกต์สำหรับการกระตุ้นและจําแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับ การต่อต้านคอร์รัปชัน
“พลเมือง” ไม่ใช่แค่ผู้รับคำสั่ง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองขับเคลื่อนต่อไปได้ตามระบอบประชาธิปไตย เปิดตัวบทความแรกเราขอเริ่มต้นด้วยเรื่องความสุขของพลเมือง
การตลาดเชิงประยุกต์สำหรับการกระตุ้นและจําแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับ การต่อต้านคอร์รัปชัน
แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคมแผนงานคนไทย 4.0 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ คือแนวทางการมีส่วนร่วมภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันยังขาดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการจัดจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมสำหรับคนไทย 4.0 งานวิจัยนี้จึงใช้ศาสตร์การตลาดจําแนกกลุ่ม และศึกษาลักษณะซ่อนเร้นของผู้ที่มีพฤติกรรมต่อต้านคอร์รัปชันที่แตกต่างกันในสังคมไทย เพื่อการออกแบบกลไกกระตุ้นการมีส่วนร่วมของคนในสังคมที่มีความหลากหลาย จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ควรนำมาใช้ในการแบ่งกลุ่มเพื่อดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันคือปัจจัยเชิงสังคม วัฒนธรรม และจิตวิทยาซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจนเหมาะสมกว่า และบรรทัดฐานส่วนบุคคล และความเป็นชายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชันจึงควรให้ความรู้ด้านบรรทัดฐานด้านคอร์รัปชันแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง เน้นให้กลุ่มเป้าหมายเห็นปัญหาของการคอร์รัปชันที่ชัดเจน และต้องกำหนดกรอบบรรทัดฐานทางสังคมของการคอร์รัปชันให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง เพื่อปลุกจิตสำนึกและกระตุ้นให้เกิดบรรทัดฐานส่วนบุคคลด้านคอร์รัปชันในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนั้นการสื่อสารให้เกิดความรู้สึกถึงความสำคัญของความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย ทั้งในเรื่องทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมต่อต้านคอร์รัปชันได้ ประเด็นสำคัญของงานวิจัย งานวิจัยชิ้นนี้สามารถยืนยันผลได้ว่า ปัจจัยซ่อนเร้นตามลักษณะทางวัฒนธรรม
โครงการวิจัย เรื่องการตลาดเชิงประยุกต์สำหรับการกระตุ้นและจําแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อภัสสร์ ยมนาค และคณะ (2563)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)