กลไกการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

ศึกษากลไกป้องกันการทุจริตในพื้นที่โดยทีมวิจัยชาวบ้านในตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CCBR) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงในชุมชน

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้งานวิจัยมีส่วนในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงในชุมชน อย่างมีส่วนร่วม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research : CBR) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) 

โดยใช้เครื่องมือในการศึกษา 2 ประเภท ได้แก่ (1) การจัดเวที เสวนากลุ่มย่อยในระดับชุมชนและระดับตำบล และ (2) การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ซึ่งตลอดการดำเนินการวิจัย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดน่าน กับทีมวิจัยชาวบ้านในพื้นที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าเหตุการณ์คอร์รัปชันที่สร้างผลกระทบต่อชมุชนมากที่สุด 3 เหตุการณ์แรก ดังนี้ อันดับแรก โครงการในพื้นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากการดำเนินงานส่วนใหญ่ เป็นการจัดทำแผนจากหน่วยงานเป็นหลัก ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบ หรือเป็นไปตามความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง  อันดับที่ 2 การคัดเลือกคนเข้าทำงานถูกมองว่าอยู่บนพื้นฐานของการใช้เส้นสาย หรือระบบพวกพ้อง มากกว่าการใช้เกณฑ์ด้านความรู้ความสามารถในการคัดเลือก โดยเฉพาะในกลุ่มงานของท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของเครือญาติ และนำมาสู่การทุจริตคอร์รัปชันได้ และ อันดับที่ 3 การปล่อยปะละเลย หรือรู้เห็นเป็นใจกับผู้รับจ้างของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ เนื่องจากผู้รับเหมาส่วนใหญ่จะเป็นคนกลุ่มเดิมที่ได้รับงานจากหน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะในกลุ่มสิ่งปลูกสร้าง หรืองบพัฒนาถนนในพื้นที่
  • ผลจากการศึกษา ระบุตัวอย่างโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์ในระดับพื้นที่ในมุมมองของชาวบ้าน เช่น โครงการขุดลอกลำน้ำมาง ที่เน้นงบประมาณเป็นหลัก แต่เกิดประโยชน์ไม่ทั่วถึงกัน บางจุดเกิดประโยชน์ แต่บางจุดไม่เกิดประโยชน์ และโครงการขุดลอกหน้าฝาย ที่ชาวบ้านของบประมาณทำในช่วงหน้าร้อน แต่ได้งบประมาณมาดำเนินการในช่วงหน้าฝน แม้ว่าทำแล้วจะไม่ได้ประโยชน์ เพราะน้ำป่าไหลหลากมาทับถมหน้าดินทราย ตกตะกอนหน้าฝายเหมือนเดิม แต่จำเป็นต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำจะต้องคืนงบกลับไป ซึ่งอาจไม่สามารถขอมาใช้ได้อีก 
  • ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ระบุว่าจุดเริ่มต้นในการเฝ้าระวังการคอร์รัปชัน ต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชนก่อน โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ผลกระทบและผลเสียที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยเริ่มจากสถานการณ์ที่ใกล้ตัว หรืออยู่ในชุมชนก่อน แล้วจึงนำไปสู่การสืบค้นข้อมูล การจัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งในส่วนของสถานการณ์ปัญหา รูปแบบการคอร์รัปชัน และผลกระทบ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในระดับตำบล
  • ผลจากการศึกษา พบว่าแนวทางการสร้างกลไกเฝ้าระวังการคอร์รัปชันในมุมมองของชาวบ้าน ต้องสร้างกลไกหลายด้าน  สรุปได้ ดังนี้  (1) กลไกการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่เป็นชาวบ้าน ที่จะตกเป็นเครื่องมือของการทุจริตคอร์รัปชันในพื้นที่ เช่น การใช้ความไม่รู้ของชาวบ้านในการเปิดบัญชีผี (2) กลไกการให้กำลังใจผู้ที่เข้ามาทำงานต่อต้านคอร์รัปชัน เนื่องจากชุมชนต้องก้าวข้ามความกลัวจากผู้มีอิทธิพล หรือการข่มขู่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการผนึกกำลังของกลุ่มคนในพื้นที่ และการปกป้องดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) กลไกการสื่อสารในเรื่องการดำเนินโครงการที่ส่อไปในทางทุจริต หรือวิธีการแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชันในพื้นที่ และ (4) กลไกการหนุนเสริม ทั้งในด้านความรู้ทางวิชาการ กระบวนการทางความคิด และการทำงานร่วมกัน ทั้งในระดับชุมชน ตำบล อำเภอ สำนักงาน ป.ป.ช. สตง. และจังหวัด เพื่อสร้างทีมทำงานที่มีคุณภาพ  และพร้อมที่จะเรียนรู้ไปด้วยกัน
  • ผลจากการศึกษา สามารถสรุปได้ว่างานวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงสถานการณ์เชิงลึก ทั้งด้านปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการคอร์รัปชัน ตลอดจนรูปแบบและช่องทางการคอร์รัปชันในการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมในชุมชน รวมถึงชุดข้อมูลของสถานการณ์ปัญหารูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัย ได้ร่วมกับชาวบ้านออกแบบแนวทางการพัฒนาชุมชนปลอดคอร์รัปชันในพื้นที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักในปัญหาคอร์รัปชันในพื้นที่ของตนเอง และให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

อภิสิทธิ์ ลัมยศ. (2563). โครงการกลไกการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • อภิสิทธิ์ ลัมยศ
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ