KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I กัวเตมาลา ประกาศเดินหน้าปราบปรามคอร์รัปชัน

กัวเตมาลาร่วมมือ 3 กระทรวงสำคัญ ตรวจสอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง 1,430 ฉบับ

กัวตามาลา ประเทศที่ติดกับทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก เป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชันที่รุนแรง โดยตั้งแต่ปี 2017 กัวเตมาลามีดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ที่ลดลงเกือบทุกปี จนทำให้ปัจจุบันประเทศนี้มีคะแนนเพียง 23 คะแนนและอยู่ในอันดับ 154 จาก 180 ประเทศ

ช่วงเวลาที่ผ่านมา กัวเตมาลามีความพยายามอยู่เสมอในการต่อต้านการทุจริตซึ่งในปีนี้ประธานาธิบดี Bernardo Arévalo ได้มีการแต่งตั้งผู้นำหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชัน (Comisión Nacional contra la Corrupción : CNC) คนใหม่ คือนาย Santiago Palomo ทนายความชาวกัวเตมาลาที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจาก Harvard Law School ซึ่งทาง InSightCrime สื่อเจาะลึกของสหรัฐฯ ได้สัมภาษณ์ Palomo เกี่ยวกับก้าวต่อไปของเขาในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในกัวเตมาลา

Palomo ให้สัมภาษณ์โดยอธิบายถึงความล้มเหลวของกัวเตมาลาตลอดเวลาที่ผ่านมาโดยเขามองว่า เป็นเพราะภาคการเมืองของประเทศยังขาดความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ประเทศชินชากับการถูกผู้มีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์ และกลยุทธ์การปราบปรามที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐที่ไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่ฝังรากลึกอยู่ในประเทศได้ ซึ่งการจะแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเกมยาวที่ต้องเริ่มจากการวางรากฐานเพื่อป้องกันการคอร์รัปชันจากรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพและมีความยุติธรรม

ในด้านการปราบปราม Palomo ระบุว่าต้องให้ความสำคัญกับ 3 กระทรวงสำคัญ คือกระทรวงคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานและเคหสถาน (CIV) กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม (MSPAS) และกระทรวงศึกษาธิการ (MINEDUC) เพราะมองว่าในกระทรวงต่าง ๆ เหล่านี้มีการคอร์รัปชันที่รุนแรงมากที่สุด โดยเฉพาะงบประมาณเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในการก่อสร้างที่เปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจค่อนข้างมาก รวมทั้งยังขาดความโปร่งใส ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดคอร์รัปชันสูง

ปัจจุบันหน่วยงาน CNC ที่ Palomo ดูแลอยู่ และกระทรวง CIV ได้ร่วมมือกันในการตรวจสอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกว่า 1,430 ฉบับ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น จึงได้ส่งเรื่องนี้ไปยังอัยการสูงสุดของประเทศแล้ว นี่นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของ Palomo ในฐานะผู้นำ CNC คนใหม่ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาคอร์รัปชันในกัวเตมาลาซึ่งอาจต้องติดตามกันต่อไปว่าเขาจะช่วยลดคอร์รัปชันได้มากน้อยแค่ไหน และกัวเตมาลาในอนาคตจะมีคะแนน CPI ที่ดีขึ้นหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงของกัวเตมาลาในครั้งนี้ ทำให้ต้องย้อนกลับมามองประเทศไทย เพราะเมื่อปีที่ผ่านมาเราเพิ่งได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงน่าตั้งคำถามว่าปัจจุบันการแก้ปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยเริ่มทำอะไรไปแล้วบ้าง ?

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ