ศึกษารูปแบบของการคอร์รัปชันก่อนนําทรัพย์สินจากการคอร์รัปชันไปใช้ และศึกษารูปแบบวิธีการฟอกเงินในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงมาตรการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงินจากกรณีของต่างประเทศ
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ รูปแบบ วิธีการ และขั้นตอนของการคอร์รัปชันก่อนนำเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้จากคอร์รัปชันไปใช้ และศึกษารูปแบบวิธีการฟอกเงินลักษณะต่าง ๆ รวมถึงมาตรการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงินจากประสบการณ์ของต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะมาตรการในการจํากัด หรือควบคุมการนําเงินที่ได้มาจากธุรกรรมผิดกฎหมายออกมาใช้ประโยชน์
โดยมีขอบเขตของการวิจัย คือ การศึกษาขั้นตอนการนําเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการคอร์รัปชันไปฟอกเงิน การศึกษามาตรการในการป้องกัน การจํากัด หรือควบคุมการนําเงินสดที่ได้จากธุรกรรมผิดกฎหมาย มาฟอกเงินประเทศไทยและต่างประเทศ และการศึกษากฎหมายและมาตรการที่มีของประเทศไทย ในเรื่องของการดําเนินการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิดที่เกี่ยวกับคอร์รัปชัน การฟอกเงิน และมาตรการการป้องกันการนําเงินผิดกฎหมายออกมาใช้
วิธีการศึกษาใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) กับบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง จํานวน 5 กลุ่มตัวอย่าง รวมจํานวน 10-15 ท่าน และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) กับบุคคลที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ ความเข้าใจต่อปัญหาการฟอกเงินในวงการธุรกิจภาคเอกชนและภาครัฐ จํานวน 2 ครั้ง ครั้งละ 5-10 ท่าน
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
ผลการวิจัย พบว่าปัญหาการคอร์รัปชันในประเทศไทย ไม่ได้จํากัดอยูเพียงภาครัฐดังเช่นในอดีต แต่ปัจจุบันได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับภาคการเมือง และภาคธุรกิจเอกชนมากขึ้น จนทําให้เกิดการคอร์รัปชันในรูปแบบที่เรียกว่า “การคอร์รัปชันทางเศรษฐกิจ” (Economic corruption) “การคอร์รัปชันทางการเมือง” (Political corruption) และ “การคอร์รัปชันในการบริหารราชการ” (Administrative corruption) ซึ่งปรากฏให้เห็นทั้งในระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ โดยการคอร์รัปชันส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ผลการวิจัย พบว่าในประเด็นการฟอกเงินที่มีที่มาจากการทุจริต แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ ตํารวจ นักธุรกิจ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ต่างให้ข้อมูลตรงกันในประเด็นของรูปแบบ และวิธีการฟอกเงินที่มาจากการทุจริตในวงราชการ กล่าวคือ การฟอกเงิน หรือการนําเอาทรัพย์สินที่ได้มาจากการทุจริตไปใช้ประโยชน์ ยังคงใช้วิธีการแบบดั้งเดิม เช่น การเก็บเงินสด หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการทุจริตไว้ที่บ้าน หรือสถานที่เก็บเงิน (Safe house) หรือมีการเปลี่ยนแปลงเงินที่ได้เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง เช่น พระเครื่อง วัตถุโบราณ เป็นต้น
- ผลการวิจัย พบว่าสําหรับมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในประเทศไทย กล่าวได้ว่าแนวทางของประเทศไทยที่ผ่านมา มีการนําเอามาตรการที่เป็นมาตรฐานสากลจากต่างประเทศมาใช้กำกับดูแล เช่น มาตรการที่ดําเนินการเกี่ยวกับการรายงานระบบธุรกรรม มาตรการรายงานธุรกรรมอันควรสงสัย มาตรการกำหนดให้ลูกค้าต้องแสดงตน มาตรการดําเนินการในด้านระบบของการยับยั้งการทําธุรกรรม และระบบของการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาจากประกอบอาชญากรรม ซึ่งมาตรฐานสากลนี้ มีกาหนดไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และ (ฉบับที่ 4) ปี พ.ศ. 2556
- คณะผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้
- ควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการเคลื่อนไหวของเงินสด คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสากล ในเรื่องการรายงานธุรกรรมเงินสดจํานวนมาก และธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย การรายงานธุรกรรมการจัดให้ลูกค้าแสดงตน (Know Your Customer (KYC)) การกำหนดนโยบายการรับลูกค้า และการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวกับการฟอกเงิน การบันทึกข้อเท็จจริงของลูกค้า (Customer Due Diligence หรือ CDD) การเก็บรักษาข้อมูลแสดงตนและข้อมูล เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการกำหนดโทษในการไม่ทํารายงานธุรกรรมและการแสดงตน
- เสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ต้องประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการทํางานร่วมกัน เพื่อตรวจสอบความรํ่ารวยผิดปกติ และการทุจริตประพฤติมิชอบของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและข้าราชการโดยเร็ว และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทําบันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน เพื่อการขอข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกัน
สังศิต พิริยะรังสรรค์, ศรัณย์ ธิติลักษณ์ และนิดาวรรณ เพราะสุนทร. (2558). การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา: กรุงเทพฯ.
- สังศิต พิริยะรังสรรค์
- ศรัณย์ ธิติลักษณ์
- นิดาวรรณ เพราะสุนทร
หัวข้อ
โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ
แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด
วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
สู่ความชัดเจนในระเบียบธรรมาภิบาล: ประเด็นสืบเนื่องจากกรณีการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น
มุ่งศึกษากฎหมายของไทย ผลของการบังคับใช้กฎหมาย เเละเเนวปฎิบัติที่ดีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอเเนะของไทย เช่น การประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย
ผลกระทบขององค์กรธุรกิจจากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ปปช. มาตรา 103/7
ศึกษาประสิทธิภาพของกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยให้เป็นไปด้วยความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น