การวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทุจริต ศึกษากรณีการตรวจสอบติดตาม (Monitoring) และความโปร่งใส (Transparency)

การแก้ไขปัญหาการทุจริตในประเทศไทย อาจต้องอาศัยมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมทุจริตตั้งแต่แรกควบคู่ไปกับการปราบปรามและลงโทษทางกฎหมาย จึงนำมาสู่การวิจัยเชิงทดลองนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทุจริตของมนุษย์

การปราบปราม หรือเพิ่มบทลงโทษทางกฎหมายต่อการกระทำการทุจริตที่ได้เกิดขึ้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะโอกาสที่กระบวนการทางกฎหมายจะสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้นั้นมีน้อย ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการทุจริตในประเทศไทยอาจต้องอาศัยมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมทุจริตตั้งแต่แรกควบคู่ไปกับการปราบปรามและลงโทษทางกฎหมาย

จึงนำมาสู่การวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทุจริต โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองภาคสนามที่มีการควบคุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนักศึกษาจากหลากหลายมหาวิทยาลัยจำนวน 425 คน เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมทุจริตของมนุษย์ รวมถึงการศึกษากรณีการตรวจสอบติดตามและความโปร่งใส เพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันพฤติกรรมการทุจริตกับหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสังคมไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • การวิจัยเชิงทดลองภาคสนามที่มีการควบคุมในงานชิ้นนี้ ได้จำลองสถานการณ์ให้กลุ่มตัวอย่าง ตรวจหาคำผิดในข้อสอบพิมพ์ดีดของโรงเรียนเลขานุการแห่งหนึ่ง เมื่อเริ่มการทดลองกลุ่มตัวอย่างจะได้รับเงิน 300 บาท ซึ่งแบ่งเป็นค่าตอบแทน 200 บาท และเงินพิเศษจากการหาคำผิดเจอจุดละ 5 บาท ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างจะไม่ทราบว่าในข้อสอบมีคำผิดร่วมกันทั้งหมด 10 ที่เท่านั้น โดยพฤติกรรมทุจริตในการทดลองนี้หมายถึง (1) การรายงานจำนวนคำผิดบนใบปะหน้าไม่ตรงกับจำนวนที่วงกลมในข้อสอบ หรือไม่ตรงกับจำนวนคำผิดจริง และใช้เวลาในการตรวจต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์ คือ เวลาตรวจต่ำที่สุดของคนในกลุ่มตัวอย่างที่ตรวจข้อสอบอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด และ (2) การหยิบค่าตอบแทนมากกว่าจำนวนเงินที่ควรจะได้รับ
  • ผลจากการทดลองภาคสนาม พบว่าพฤติกรรมทุจริตที่พบมากที่สุด คือการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วน กล่าวคือ รีบทำงานเสร็จก่อนเวลา เพื่อที่จะได้เก็บค่าเสียเวลา 200 บาท กับค่าตอบแทนพิเศษเพียงเล็กน้อย (5-10 บาท) โดยจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 85 คน มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เก็บค่าตอบแทนทั้งหมด (300 บาท) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติมที่ระบุว่าคนเราสะดวกใจที่จะโกงเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่าการทุจริตที่รุนแรง
  • ผลจากการทดลองภาคสนาม ยังพบว่าปัจจัยความโปร่งใสมีผลต่อการตัดสินใจที่จะทุจริต โดยพบความแตกต่างระหว่างระดับความโปร่งใสสูง (คืนซองกับผู้ว่าจ้าง) กับระดับความโปร่งใสต่ำ (คืนซองบนโต๊ะนอกห้อง) ในขณะที่ปัจจัยการตรวจสอบติดตามไม่มีความแตกต่างระหว่างระดับสูง (โอกาสถูกตรวจซ้ำ 6 ใน 10) กับต่ำ (โอกาสถูกตรวจซ้ำ 1 ใน 10) อาจเพราะปัจจัยความโปร่งใส มีลักษณะของการต้องเผชิญหน้า ณ ขณะนั้น ในขณะที่โอกาสถูกตรวจซ้ำ ไม่มีการเผชิญหน้า ณ ขณะนั้น ผู้ทำการทดลอง จึงไม่ต้องกังวลว่าอาจจะถูกลงโทษจากผู้ว่าจ้าง หากพบทีหลังว่าตรวจข้อสอบไม่ตรงกับความเป็นจริง
  • ผลจากการวิเคราะห์ผลการทดลองภาคสนาม พบว่ามี 2 ตัวแปรที่มีนัยยะสำคัญต่อพฤติกรรมทุจริตตามคำนิยามของการทดลอง ดังนี้ (1) ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมยิ่งสูง (GPA) มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการตรวจเจอคำผิดได้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น และ (2) ประสบการณ์การเสนอ หรือรับสิ่งตอบแทน เพื่อแลกกับผลประโยชน์โดยมิชอบ (Bribe) มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการตรวจเจอคำผิดได้ตรงกับความเป็นจริงน้อยลง โดยผลที่ได้จากการทดลองนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้ 3 ข้อ ดังนี้
    1. มาตรการป้องกันการทุจริต ต้องเน้นให้เกิดความโปร่งใสต่อสาธารณะ โดยการเปิดเผยผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ควรจะต้องเป็นไปอย่างมีมาตรฐานเดียวกัน และให้มีข้อยกเว้นให้น้อยที่สุด อีกทั้ง ควรลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ มีมาตรการคุ้มครองผู้ให้เบาะแสการทุจริต และส่งเสริมภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบผลการดำเนินงานของภาครัฐ
    2. ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมว่าการศึกษา หรือการเรียนรู้รูปแบบใด ที่จะสามารถส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีความรับผิดชอบ มีความตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จสิ้น ตลอดจนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ซึ่งจะสามารถเสริมประสิทธิผลของโครงการรณรงค์ป้องกันการทุจริตในเด็กและเยาวชนอย่างโครงการโตไปไม่โกงได้
    3. แผนการป้องการทุจริต ต้องมุ่งป้องกันการทุจริตเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย เช่น การจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้รับบริการที่เร็วขึ้น หรือเพื่อให้พ้นผิด เพราะเป็นการทุจริตที่พบเห็นได้ทั่วไป จนอาจเกิดการเคยชินและพัฒนาไปเป็นค่านิยม (Norm) ที่ว่าใคร ๆ ก็ทำกัน
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

บุญวรา สุมะโน เจนพึ่งพร, ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร, นที ธรรมพัฒน์พงศ์, ณัชพล ประดิษฐเพชรา, ณิชาพรรณ อัศวสุรนาท และเดือนเด่น นิคมบริรักษ์. (2560). การวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทุจริต: ศึกษากรณีการตรวจสอบติดตาม (Monitoring) และความโปร่งใส (Transparency). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • บุญวรา สุมะโน เจนพึ่งพร
  • ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร
  • นที ธรรมพัฒน์พงศ์
  • ณัชพล ประดิษฐเพชรา
  • ณิชาพรรณ อัศวสุรนาท
  • เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

You might also like...

บทความวิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และการสนับสนุนระบบการร้องเรียน ความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต รวมถึงการมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหาร

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กว้างไกลด้วยการสร้างรางวัลให้องค์กร

พาทุกคนมาศึกษาจุดเริ่มต้นของธรรมาภิบาลในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทย 2540 ที่นำมาสู่การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลไทย ซึ่งจะทำให้เห็นถึงพัฒนาการและภาพรวมของธรรมาภิบาลในประเทศไทยมากขึ้น และการมีธรรมาภิบาลจะช่วยลดคอร์รัปชันได้อย่างไร ?

บทความวิจัย : การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา