การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) จำแนกตามภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย

ศึกษารูปแบบของกลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ และศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ และความร่วมมือของกลุ่มอิทธิพล ผ่านกรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีศุลกากรในประเทศไทย

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการทำงาน การเเลกเปลี่ยนข้อมูล และการเเลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ ผ่านกรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีศุลกากรในประเทศไทย เพื่อนำเสนอมาตรการที่เหมาะสมต่อการพัฒนากลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในลักษณะดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เเก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมมนากลุ่มย่อย 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าความหมายของ “กลุ่มอิทธิพล” ตามบริบทของการศึกษา ได้แก่ (1) นักการเมืองที่มีตำแหน่งทางการเมืองหรือมีอำนาจแทรกแซงทางบริหาร และทางนิติบัญญัติ (2) ข้าราชการหน่วยจัดเก็บภาษีอากร และ (3) ผู้ประกอบการหรือบุคคล ซึ่งกระทำตนเป็นผู้ประกอบการ แต่ไม่ได้ประกอบการจริง เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางภาษี โดยทั่วไป “กลุ่มอิทธิพล”จะเริ่มจากความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ แล้วพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะองค์กรที่มีเครือข่ายการการทำงานร่วมกัน มีการเเเลกเปลี่ยนข้อมูลและผลประโยชน์ ซึ่งอาจเรียกว่า องค์กรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้ช่องว่างของกฎหมาย หรือใช้อิทธิพลแฝงแทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มอิทธิพลดังกล่าว เพื่อผลประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีศุลกากร
  • ผลจากการศึกษา พบว่ารูปแบบของกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีศุลกากร จำแนกตามลักษณะการกระทำความผิดเป็น 3 ลักษณะ ได้เเก่ หนึ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการเองท้ังขบวนการ สอง ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง และสาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ (รวมถึงผู้มีตำแหน่งทางการเมืองที่มีอำนาจแทรกแซงทางการบริหาร และนิติบัญญัติ) กับผู้ประกอบการ ร่วมมือทำกันอย่างเป็นระบบ
  • ผลจากการศึกษา พบว่าลักษณะการทำงาน การเเลกเปลี่ยนข้อมูล และผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มอิทธิพล มีลักษณะสำคัญ เช่น  นักการเมืองอาจจะกำหนดนโยบายและออกกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ มีการจัดอบรมเพื่อชี้แนะให้ผู้ประกอบการสามารถหลบเลี่ยงภาษี และบางกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐยังเป็นที่ปรึกษาให้อีกด้วย และการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มผู้ทุจริตภาษีอากร โดยไม่ฎีกาคดีภาษีอากรต่อศาลฎีกา กรณีที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรแพ้คดี เป็นต้น 
  • ผลจากการศึกษา พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดโอกาส หรือช่องทางการทุจริตภาษีอากรโดยกลุ่มอิทธิพล เช่น โครงสร้างอำนาจการแทรกแซง และช่องว่างของกฎหมายที่เปิดโอกาสให้มีการใช้ดุลพินิจโดยไม่มีการตรวจสอบ ระบบการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอื้อต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และความล่าช้าของการดำเนินคดี  ซึ่งมีผลต่ออายุความและการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเชื่อมโยงถึงผู้กระทำผิด

  • ตัวอย่างข้อเสนอแนะต่อการพัฒนากลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันที่ได้จากการศึกษา เช่น

    1. กำหนดนโยบายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างกัน โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความเหมาะสมของผลประกอบการ และการเสียภาษี ตลอดจนเส้นทางการเงินของบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี และการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริตภาษีอากร 
    2. เพิ่มกลไกการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกของหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ กรมสรรพากร และกรมศุลกากร ควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ และดำเนินคดีทุจริตภาษีอากร ซึ่งเป็นคดีอาญา โดยต้องรายงานความน่าสงสัย และส่งเรื่องให้ สำนักงาน ป.ป.ช. กรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

วัชรา ไชยสาร, วรวุฒิ รักษาวงศ์, ทศพนธ์ นรทัศน์, อดิเรก คิดธรรมรักษา, นัทพล เพชรากูล และณฐพร ถนอมทรัพย์. (2561). การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) จำแนกตามภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • วัชรา ไชยสาร
  • วรวุฒิ รักษาวงศ์
  • ทศพนธ์ นรทัศน์
  • อดิเรก คิดธรรมรักษา
  • นัทพล เพชรากูล
  • ณฐพร ถนอมทรัพย์
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น