การศึกษารูปแบบและกระบวนการคอร์รัปชันในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ

ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและกระบวนการคอร์รัปชัน รวมถึงแนวทางการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันในการประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐในอนาคต

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสื่อให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของการคอร์รัปชัน ทั้งในเชิงรูปแบบและกระบวนการ รวมถึงแนวทางที่ควรจะนำมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันในสังคมไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐในอนาคต

โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) ที่เน้นการวิเคราะห์การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้ที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ ในการก่อสร้างการแข่งขันของภาครัฐที่มีมูลค่า 1 พันล้านบาทขึ้นไป

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษา พบว่ามูลเหตุสำคัญในการคอร์รัปชัน มาจากระบบการเมืองที่ใช้อำนาจในเชิงอุปถัมภ์ กับ บรรดานักธุรกิจผู้ให้ทุนสนับสนุนในช่วงเลือกตั้ง เข้ามาถอนทุนจากโครงการก่อสร้างหลายรูปแบบ ตั้งแต่การกินตามน้ำ ทวนน้ำ ล็อกสเปก ฮั้วงาน รวมถึงการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย โดยมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ได้เเก่ นักการเมือง ข้าราชการ และผู้รับเหมาก่อสร้าง
  • ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการในการคอร์รัปชันโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ ผู้ที่มีบทบาทหลัก คือ นักธุรกิจรับเหมาขนาดใหญ่ ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดโครงการ หรือบริษัทที่จะเข้ามารับงาน เพราะมีอิทธิพลมากในฐานะผู้ให้ทุนสนับสนุนทางการเมือง ส่วนนักการเมืองต้องออกแรงวิ่งประสานระดับคณะรัฐมนตรี เพราะโครงการขนาดใหญ่ต้องขออนุมัติ ขณะที่ข้าราชการก็ต้องทำหน้าที่ในทางปฏิบัติ เพื่ออำนวยความสะดวก จึงเห็นได้ว่ากระบวนการคอร์รัปชันในโครงการขนาดใหญ่ ต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคคล 3 ฝ่าย คือ นักการเมือง ข้าราชการ และผู้รับเหมาที่เข้าไปสั่งการ และเกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นเงินหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์
  • ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบและกระบวนการคอรัปชันงบประมาณของรัฐ ยังคงเป็นรูปแบบการกินตามน้ำ ซึ่งเป็นความพึงพอใจทั้งจากผู้ให้ และผู้รับ โดยมีการจัดสรรผลประโยชน์ไว้ 10% ของมูลค่าโครงการ ในขณะที่รูปแบบการกินทวนน้ำ การล็อกสเปก และการฮั้วงานของผู้รับเหมา ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ถึง 15-30 %  ส่วนวิธีการจ่ายผลประโยชน์ นิยมจ่ายเป็นเงินสด หากเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป มักจะจ่ายกันที่ต่างประเทศในลักษณะของการเปิด Letter  of  Credit  หลังจากนั้น จึงจะมีการโอนกลับเข้ามาในประเทศไทย สำหรับสายการจ่ายเงินสดในประเทศไทย มักจะใช้กระเป๋าเดินทางที่มีล้อเลื่อนใส่กล่องกระดาษแล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดไว้ขับรถไปมอบให้ที่บ้าน
  • สำหรับแนวทางป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน พบว่าต้องกำหนดแนวนโยบายในการปฏิบัติการป้องกันการคอร์รัปชันแบบองค์รวม ด้วยการประสานงานและความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคการเมือง และสื่อมวลชน เช่น ภาครัฐต้องสนับสนุนให้องค์กรอิสระและหน่วยงานปราบปรามการคอร์รัปชัน ใช้อำนาจตามกฎหมายอย่างจริงจัง และมีความโปร่งใส พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนและสังคม ภาคประชาชน เช่น ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชัน ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น และระดับชาติ พรรคการเมือง เช่นต้องมีการจัดระบบพรรคการเมืองใหม่ เพื่อให้ได้นักการเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม เข้ามาสังกัดพรรคในอนาคต และต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของพรรคการเมือง สื่อมวลชน เช่น ต้องทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังตรวจสอบผู้บริหารประเทศในเรื่องพฤติกรรมการคอร์รัปชัน และตีแผ่ให้สาธารณชนได้รับทราบ
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

สุพรรณี ไชยอำพร และศิรินทร์ทิพย์ อรุณเรื่อ. (2558). รูปแบบและกระบวนการคอร์รัปชันในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ. Journal of Social Development and Management Strategy, 8(1).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง
  • สุพรรณี ไชยอำพร
  • ศิรินทร์ทิพย์ อรุณเรื่อ
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

โครงการนโยบายประชานิยม : ผลกระทบและแนวทางการรับมือ

วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายประชานิยม และกําหนดกรอบนโยบายที่เหมาะสม เพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรการการหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายประชานิยม

พัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ศึกษาพัฒนาการของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 103/7 วรรคแรกและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

ผลกระทบขององค์กรธุรกิจจากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ ปปช. มาตรา 103/7

ศึกษาประสิทธิภาพของกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยให้เป็นไปด้วยความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ