การสังเคราะห์การทุจริตเชิงนโนยบายเพื่อการออกแบบระบบและพัฒนากลไกการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายของไทย

การทุจริตเชิงนโยบายสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการทางนโยบาย โดยการสกัดกั้นต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ พรรคการเมือง ภาคประชาสังคมในการตรวจสอบและติดตามการออกนโยบาย

การทุจริตเชิงนโยบาย (Policy Corruption) เป็นปัญหาที่พบมากในปัจจุบันและก่อให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีกลไกเพื่อสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโนบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จากสาเหตุดังกล่าว จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ

  1. เพื่อศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์วงจรและกระบวนการเกิดการทุจริตเชิงนโยบายในระดับชาติ และท้องถิ่น
  2. เพื่อศึกษา ออกแบบระบบ มาตรการ กลไกทางกฎหมายและอื่น ๆ เพื่อสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
  3. เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทํานโยบายสาธารณะ กลไกการตรวจสอบในขั้นตอนต่าง ๆ และหน่วยงานที่รับผิดชอบและการกําหนดความรับผิดทางกฎหมาย

ผลการศึกษา พบว่า การทุจริตเชิงนโยบายเกิดจากการใช้อํานาจของฝ่ายบริหารของรัฐหรือผู้บริหารขององค์การในการเสนอโครงการหรือการดําเนินโครงการที่เอื้อผลประโยชน์ต่อตนเองหรือบุคคลอื่น และทําให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งปรากฏขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการทางนโยบาย โดยการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ พรรคการเมือง ภาคประชาสังคมในการตรวจสอบและติดตามการออกนโยบายเพื่อสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายที่อาจเกิดขึ้น ประกอบกับการพัฒนาระบบข้อมูลที่อำนวยความสะดวกต่อการตรวจสอบการดำเนินนโยบาย เพื่อให้สามารถสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สรุปประเด็นสำคัญของงานวิจัย

  • สำนักงาน ป.ป.ช. มีอำนาจให้ความเห็นและข้อเสนอแนะกับหน่วยงานหรือฝ่ายบริหาร ซึ่งไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายโดยทันที จึงต้องอาศัยกลไกการกํากับติดตามและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรตรวจสอบเพื่อบูรณาการร่วมกันในการกํากับดูแลและตรวจสอบในเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้ข้อเสนอแนะดังกล่าว
  • สำนักงาน ป.ป.ช. มีปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ข้อเสนอแนะให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมรับทราบ ซึ่งมีส่วนทำให้กลไกการตรวจสอบและร้องเรียนโดยภาคประชาชนยังไม่เกิดผลจากการเฝ้าระวังตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. 

สรุปข้อเสนอแนะจากงานวิจัย

  • แบบจำลองกลไกการสกัดกั้นทุจริตเชิงนโยบาย แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นการก่อตัวของนโยบายที่ควรให้อํานาจ ก.ก.ต. ในการกําหนดกติกา ควบคุม/แจ้งเตือนการหาเสียงของพรรคการเมืองเท่าที่จําเป็น โดยไม่กระทบต่อหลักประชาธิปไตย ในขณะที่ภาคประชาสังคมควรมีความตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการหาเสียงเลือกตั้ง
  • ขั้นการกำหนดนโยบาย ควรกําหนดให้การแถลงนโยบายต่อสภาและมีการลงมติในรายประเด็น เพื่อใช้กลไกทางรัฐสภาในการตรวจสอบการกําหนดนโยบายของฝ่ายบริหาร และให้สํานักงบประมาณของรัฐสภาทําหน้าที่ในการวิเคราะห์นโยบาย
  • ขั้นการตัดสินใจนโยบาย รัฐสภาควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทําโครงการของรัฐ และให้สํานักงบประมาณของรัฐสภาทำหน้าที่ให้ข้อมูลในการพิจารณาอนุมัติงบประมาณและการควบคุมตรวจสอบงบประมาณ ในขณะที่ภาคประชาสังคม ควรมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลในการจัดทําโครงการเพื่อให้ฝ่ายบริหารมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจ
  • ขั้นการนำไปสู่การปฏิบัติ ควรใช้กลไกทางรัฐสภาในการถ่วงดุลอํานาจการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบาย และให้องค์กรตรวจสอบทําหน้าที่ในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเมื่อพบโอกาสที่จะนำไปสู่การทุจริต อีกทั้ง ภาคประชาสังคมควรมีบทบาทในการสอดส่อง ตรวจสอบ และนําเสนอต่อสาธารณะถึงการกระทําที่สุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
  • ขั้นการประเมินนโยบาย ควรใช้กลไกรัฐสภาในการติดตามและประเมินผลการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยฝ่ายบริหารควรจัดให้มีการประเมินผลหรือติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขได้ทันท่วงที ในขณะที่สํานักงบประมาณมีหน้าที่ในการนําผลการประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณในการดําเนินงานในปีงบประมาณต่อไป
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พัชรวรรณ นุชประยูร, อมรรัตน์ กุลสุจริต, ศักดิ์วุฒิ วิบูลสมัย และ กวินา กิจกําแหง. (2563). การสังเคราะห์การทุจริตเชิงนโนยบายเพื่อการออกแบบระบบและพัฒนากลไกการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายของไทย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • พัชรวรรณ นุชประยูร 
  • อมรรัตน์ กุลสุจริต 
  • ศักดิ์วุฒิ วิบูลสมัย 
  • กวินา กิจกําแหง 
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่องการตรวจสอบทรัพย์สินเจ้าหน้าที่รัฐ : บทเรียนจาก 3 ชาติ

ความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน KRAC จึงอยากชวนมาดูกลไกการตรวจสอบทรัพย์สินของสหรัฐฯ จอร์เจีย และฮ่องกง พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 แนวทางปลดล็อก “ผู้แจ้งเบาะแส” สู่สังคมที่โปร่งใส

กลไกการแจ้งเบาะแส (Whistleblowing)” คือ หนึ่งในกลไกสำคัญในการต่อต้านการทุจริตโดยมี “ผู้แจ้งเบาะแส” เป็นกุญแจสำคัญ แต่ความเป็นจริงแล้วการสนับสนุนให้คนเข้ามาแจ้งเหตุเป็นเรื่องยากมาก จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ถ้าสื่อไทยมีเสรีภาพมากขึ้น จะช่วยลดการคอร์รัปชันได้หรือไม่ ?

สื่อมวลชนไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่การรายงานข่าว แต่ยังสามารถร่วมแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาการคอร์รัปชันผ่านการเปิดโปงการกระทำผิดของหน่วยงานรัฐได้ ร่วมหาคำตอบว่าเสรีภาพสื่อมวลชนไทยส่งผลต่อระดับคอร์รัปชันในสังคมไทยอย่างไร