คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เพราะข้อมูลนักการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนที่จะเปิดให้โปร่งใส

ที่ผ่านมาเราคงเคยได้เห็นข่าวของความอู้ฟู่ทางฐานะการเงินของนักการเมืองบางคน ไม่ว่าจะเป็น “ทำไมบางคนถึงมีเครื่องบินส่วนตัว”  “ทำไมบางคนมีพระเครื่องราคา 7 หลัก” “ทำไมบางคนครอบครองที่ดินมูลค่ามหาศาล” “ทำไมบางคนมีนาฬิกาหรูมาแลกกันใส่ได้”

ทุกคนเคยตั้งคำถามไหมว่า นอกจากรับรู้ข่าวสารของประชาชนแล้ว เรายังทำอะไรกับกรณีดังกล่าวได้บ้าง ถ้าสงสัยว่านักการเมืองบางคนดูมีฐานะดีเกินปกติ ซึ่งจริงๆ แล้วคำถามเหล่านี้ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ และเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ เพราะความโปร่งใสทางการเมืองนั้น (Political Transparency) จะเกิดขึ้นจากภาครัฐแค่เพียงส่วนเดียวไม่ได้ ประชาชนจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากของสมการนี้ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ตัวเอง และคนอื่นๆ เข้าถึงการรับรู้ข้อมูล และร่วมกันตั้งคำถาม เกี่ยวกับที่มา อำนาจ และการปฏิบัติหน้าที่ ของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐได้

โดยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ได้มีกฎหมายที่บังคับให้นักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูง ต้องเปิดข้อมูลบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทั้งของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึงทรัพย์สินที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมด้วย แต่ถึงแม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จะทำให้เราเข้าใกล้ข้อมูลบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองแต่ละคนได้มากขึ้น การเปิดข้อมูลก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเอกสารที่ยื่นนั้นมาในรูปแบบไฟล์ PDF หรือเป็นเอกสารที่เขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก และแม้ว่าหน่วยงานรัฐอย่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะมีความพยายามนำข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่ระบบ แต่ก็ยังพบว่ามีข้อจำกัดอีกเรื่อง คือ อายุของการแสดงข้อมูลที่จำกัดให้ดูได้เพียงแค่ 180 วันเท่านั้น หลังจากนั้นจะไม่สามารถดูข้อมูลได้อีกซึ่งทำให้ประชาชนยังคงเข้าถึงข้อมูลได้ยาก และยังเป็นภาระของประชาชนอยู่

การเปิดข้อมูลภาครัฐอย่างโปร่งใสที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ จะทำให้ประชาชนเห็นประโยชน์ และภาพรวมของการมีธรรมาภิบาลในชีวิตประจำวันได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งในส่วนของการส่งเสริมให้ประเทศเกิดการพัฒนาได้ และความใส่ใจของรัฐที่มีการบริหารจัดการที่รับฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งทิศทางของการสร้างความเข้าใจ และเพิ่มพลังของการอยากเข้ามา มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และประชาชนได้มากขึ้นอีกด้วย

โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง และผลประโยชน์ของส่วนรวมร่วมกัน จากการร่วมกันเป็นหูเป็นตา ทั้งในส่วนของการสืบค้น และตรวจสอบความโปร่งใส เพราะว่าภายหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เราอาจจะได้รู้จัก สส. หน้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเราอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าคนที่เขาทำงานเป็นปากเป็นเสียงให้เราในสภา เขาคือใคร มีทรัพย์สินเท่าไร ที่แหล่งที่มารายได้อย่างไร และสุจริตหรือไม่ หรือแม้แต่ สส. หน้าเดิมที่เคยคุ้นหรือพอจะทราบข้อมูลอยู่แล้ว ทรัพย์สินที่เขามีเมื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มีเยอะขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ข้อมูลตรงกันกับที่เขาได้เคยแจ้งไปแล้วหรือไม่

ซึ่งมีตัวอย่างของการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับเปิดข้อมูลทางการเมืองที่น่าสนใจจากต่างประเทศ ดังนี้

• แพลตฟอร์ม They Work for Us ที่สร้างขึ้นโดย mySociety องค์กรไม่แสวงหากำไรในสหราชอาณาจักร โดยตั้งใจที่จะทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐบาลและรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร เข้าถึงและเข้าใจง่ายขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบสมาชิกรัฐสภาได้

• โปรเจกท์ Government Budget Visualization ของกลุ่ม Civic Tech จากไต้หวันที่สร้างความร่วมมือในการเปลี่ยนตัวเลขงบประมาณจากภาครัฐจากไฟล์เอกสาร PDF ให้เป็น Bubble Chart เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่ายและเห็นภาพว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง สามารถเปรียบเทียบกับงบประมาณในอดีต หรือเปรียบเทียบระหว่างกระทรวงต่างๆ รวมถึงสามารถตั้งคำถามกับการใช้งบประมาณได้โดยตรงด้วย

• Collaborative Fact Checking ที่เกิดจากการรวมตัวของภาคประชาสังคมในไต้หวัน ในการสร้างพื้นที่กลางในการให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันค้นหาข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร ด้วยเทคโนโลยีของภาคพลเมือง (Civic Tech) กับงานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ (Journalism) ที่ยังมี Chatbot หรือโปรแกรมการพูดคุยอัตโนมัติที่เปิดให้ทุกคนมาส่งข่าวให้ทีมกลั่นกรองได้ด้วย ปัจจุบันแนวคิดและแพลตฟอร์มCofact ได้นำมาปรับและเปิดใช้ในประเทศไทยแล้ว

โดยในตอนนี้ประเทศไทยก็มีกิจกรรม “อาสาพา (PAR) กรอก” ที่ต้องการพลังของประชาชนที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมของการสร้างฐานข้อมูลนักการเมือง ด้วยการ Digitize ข้อมูลบัญชีทรัพย์สินหนี้สินจากรูปที่เข้าถึงได้ยาก ทั้งในแบบไฟล์ PDF หรือเอกสารที่เป็นลายมือเข้าสู่รูปแบบดิจิทัลบนแพลตฟอร์ม ACT Ai Politics Data ที่นอกจากจะเป็นการทำให้ข้อมูลเข้าถึงง่ายขึ้นแล้วยังสามารถให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบข้อมูลบนแพลตฟอร์มอย่างไม่จำกัดเวลา ซึ่งทุกคนสามารถร่วมติดตาม การดำเนินงานของกิจกรรมนี้ เพราะในอนาคตทุกคนจะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของนักการเมืองบนแพลตฟอร์มดังกล่าวง่ายมากขึ้นด้วย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

ลลิลลนา จันทร์ดง

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

ลงมือสู้โกง : อยากโปร่งใสแต่ไม่อยากเปิดเผย

ในความเป็นจริงแล้ว พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการควรเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้โดยง่ายด้วยวิธีการและช่องทางที่หลากหลาย

ลงมือสู้โกง : ประเทศนี้ขับเคลื่อนด้วยคำด่า?

เมื่อประเทศนี้มักจะมีอะไรน่าสงสัย และน่าตั้งคำถามเกิดขึ้นมากมาย จนหลายครั้งประชาชนอย่างเราก็เกินกว่าจะตั้งคำถามไหว กลายเป็นคำบ่น คำด่า ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : ข้อมูลเปิดกับการต่อต้านคอร์รัปชัน

มื่อข้อมูลมา ประชาชนก็ไม่ทนแล้วนะ ! ถ้าพูดถึงการต่อต้านคอร์รัปชัน หลายคนอาจจะนึกถึงสิ่งที่ประชาชนทำได้คือ “ไม่ทำ” และ “ไม่ทน” ในส่วนของการ “ไม่ทำ” เป็นเรื่องของจิตสำนึกที่อาจต้องใช้เวลาในการแก้ไข แต่ถ้าเป็นส่วนของการ “ไม่ทน” ดูเป็นเรื่องมีโอกาสจะทำได้มากกว่า ยิ่งในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าประชาชนเริ่มแสดงให้เห็นว่าพวกเขาจะ “ไม่ทน” กันมากขึ้นหลังจากได้รับข้อมูลข่าวสาร เช่น คดีเสาไฟกินรี หรือคดีโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น