ร่างกฎหมายป้องกันการคอร์รัปชันมีแนวทางอย่างไร ?
Jorida Tabaku สมาชิกผู้แทนราษฎร พรรค Democratic Party of Albania ได้ประกาศต่อสังคมเมื่อเดือนมกราคมปีที่ผ่านมาว่า “ปัญหาคอร์รัปชันควรเป็นวาระแห่งชาติของแอลเบเนีย” โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังข่าวฉาวของ Alda Klosi อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่ถูกพบว่ามีการยักยอกเงินสดไว้ที่บ้าน 500,000 ยูโร หรือประมาณ 19,000,000 บาท โดยไม่ทราบที่มาที่ไปจนถูกสอบสวนเกี่ยวกับการทุจริต ซึ่งทำให้ Jorida Tabaku ได้ร่วมมือกับพรรค Democratic Party of Albania ที่เธอเป็นสมาชิก เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานและการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกิจการของรัฐ (On Concessions and PPPs) และกฎหมายเกี่ยวกับลงทุนเชิงกลยุทธ์ (On Strategic Investments) โดย Jorida กล่าวว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีรากฐานจาก 4 แนวทาง ที่จะไปสู่การแก้ไขคอร์รัปชันได้ คือ
เอกสารเกี่ยวกับสัมปทานรวมถึงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้วต้องมีความโปร่งใสหรือเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน
เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายสาธารณะทุกคนจะไม่ใช่แค่รับผิดชอบหน้าที่ตัวเองเท่านั้น แต่ต้องตอบให้ได้ถึงเหตุผลที่ได้กระทำลงไป หรือไม่ได้กระทำลงไปที่อาจนำไปสู่การคอร์รัปชัน ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เจ้าหน้าที่เลือกที่จะปฏิเสธการทุจริตมากขึ้น
สร้างความมั่นคงให้กับระบบการเงินของรัฐ โดยบริษัทใดก็ตามที่ยื่นขอเสนอต้องการสัมปทานจากรัฐจะต้องเปิดข้อมูลบัญชีทรัพย์สินของบริษัท โดยต้องมีรายได้มากกว่า 50 % ของมูลค่าโครงการสัมปทาน และที่มาของทรัพย์สินนั้นต้องถูกต้องตามกฎหมาย
ตั้งแต่ปี 2562 แอลเบเนียกลายเป็นประเทศที่อยู่ในลิสต์รายชื่อประเทศสีเทาจากการถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีการฟอกเงินสูง กฎหมายจึงต้องปรับปรุงให้้ภาคธุรกิจมีการส่งรายงานเกี่ยวกับรายได้ของบริษัทโดยละเอียดและมีที่มาที่ไปทุกครั้งที่มีการขอใบอนุญาตก่อสร้างหรือใบอนุญาตอื่น ๆ รวมถึงการตัดสิทธิ์การแข่งขันบริษัทต่างประเทศที่ละเมิดกฎการร่วมลงทุนในกิจการรัฐ
“การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ !! เราจะไม่รอไล่จับผิดเจ้าหน้าที่หลังจากเหตุการณ์ทุจริตเกิดขึ้นไปแล้ว เราจะแสดงความเป็นผู้นำผ่านการแสดงความมุ่งมั่นในเป้าหมาย ในฐานะฝ่ายค้านเราจะพิสูจน์ให้เห็นว่าเราต่างจากสมาชิกผู้แทนฯ คนอื่น ๆ นั่นเป็นเหตุผลให้ฉันชวนให้เพื่อนสมาชิกมาลงคะแนนเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ผ่าน” Jorida กล่าวทิ้งท้าย
ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับได้ถูกเสนอและถูกปัดตกไปในสภาแล้วในเดือนตุลาคมปี 2566 อย่างไรก็ตามกฎหมายจะมีการปรับปรุงแก้ไขและถูกนำเสนออีกครั้งในปี 2567 ซึ่งเราต้องติดตามกันต่อไปว่ากฎหมายทั้งสองฉบับนี้จะผ่านและถูกบังคับใช้ในแอลเบเนียได้หรือไม่
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ประเทศมหาอำนาจ มีแนวทางแก้ปัญหาคอร์รัปชันท้องถิ่นอย่างไร ?
ชวนศึกษารูปแบบองค์ปกครองท้องถิ่นสหรัฐฯ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีทั้งการเมืองที่มั่นคง เศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีอิทธิพลต่อโลกในหลายด้าน เช่น วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังสามารถจัดการคอร์รัปชันได้ดีเป็นอันดับที่ 24 ของโลกจากการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริตขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ
KRAC Insight สรุปงานเสวนา | ทำอย่างไรจะช่วยลดการคอร์รัปชันจากช่องว่างของกฎหมาย?
ชวนอ่านสรุป “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หัวข้อ “การประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการคอร์รัปชันในกระบวนการนิติบัญญัติ”
KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I โลกเริ่ม (ไม่) โปร่งใส เพราะคะแนน CPI ไม่ขยับ
ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของปี 2023 ได้ประกาศออกมาแล้ว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา (คะแนน CPI แต่ละปีจะประกาศในเดือนมกราคมของปีถัดไป) ซึ่งปีนี้พบว่ามีสถิติที่น่าสนใจหลายประเด็น …