KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ตามติดนโยบายแก้คอร์รัปชันระดับนานาชาติ “แบบ USA”

ถอดบทเรียน ร่วมมือต้านคอร์รัปชันกับนานาชาติอย่างไรให้สำเร็จแบบ USAID

คอร์รัปชันยังคงเป็นปัญหารุนแรงที่เกิดกับหลายประเทศทั่วโลก โดยการจัดอันดับประเทศที่มีความโปร่งใสโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ในปีล่าสุด (2566) พบว่ามีเพียง 28 จาก 180 ประเทศเท่านั้น ที่สามารถแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันให้ดีขึ้นได้ช่วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบัน จึงมีหลายหน่วยงานที่พยายามทำหน้าที่ในการสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันในระดับนานาชาติ หนึ่งในนั้นคือ USAID หรือ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (United States Agency for International Development) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ถูกจัดตั้งโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่ในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาในระดับนานาชาติในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน รวมถึงการต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งในปี 2567 Benjamin Cardin ประธานคณะกรรมการ USAID ก็ได้ออกมาประกาศถึงแนวทางการต่อต้านการคอร์รัปชันที่ USAID ทำมาตลอดสามปีที่ผ่านมา ดังนี้

1. ปัจจุบัน USAID มี “นโยบายการป้องกันการขนย้ายเงินทุจริตข้ามชาติ” ซึ่งแนวทางนี้ยังรวมไปถึงการตรวจสอบและติดตามเงิน เพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ตัวอย่างเช่น USAID ได้ทำการสนับสนุนประเทศในยุโรปตะวันออกในการต่อต้านการขนย้ายเงินทุจริตข้ามชาติที่มาจากกรุงมอสโกในประเทศรัสเซีย

2. USAID ได้ “สนับสนุนเครือข่ายนักข่าวสายสืบสวน” เพื่อเปิดโปงเรื่องคอร์รัปชันทั่วโลกทำให้พบหลายเบาะแสการทุจริต เช่น พบว่าในลาตินอเมริกามีกองทุนสาธารณะที่มีการจัดการที่ล้มเหลวและสร้างความเสียหายมูลค่า 36.6 ล้านดอลลาร์ ก่อนจะนำไปสู่การจับกุม

3. USAID “ปกป้องนักข่าวสายสืบสวนที่ถูกคุกคามจากอำนาจและอิทธิพลทางกฎหมายของรัฐ” โดยจัดตั้งโครงการ Reporters Shield ที่เปิดรับสมัครองค์กรสื่อกว่า 45 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว 25 องค์กร ตัวอย่างเช่น ใน Republika Srpska ที่มีการออกกฎหมายหมิ่นประมาทที่ส่งผลต่อเสรีภาพการทำงานของสื่อ ซึ่ง USAID ก็ได้เข้าไปช่วยเหลือองค์กรสื่อต่าง ๆ ในการต่อสู้ด้านกฎหมาย

4. USAID จัดทำหลายโครงการเพื่อ “เพิ่มศักยภาพให้กับฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ และภาคประชาสังคม ในการต่อสู้กับการคอร์รัปชัน” ตัวอย่างเช่น USAID ได้สนับสนุนรัฐบาลประเทศไลบีเรียในการสืบสวนคดีคอร์รัปชันด้านเภสัชกรรม และเชิญชวนให้ประชาชนร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งในการติดตามเส้นทางการแจกจ่ายเวชภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส

5. USAID สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันในทุกมิติ ตัวอย่างเช่น ในด้านสาธารณสุขที่เกิดความเสียหายทั่วโลกปีละ 500 ล้านดอลลาร์ USAID ได้ร่วมมือกับ Global Health ในการเข้าไปช่วยเหลือองค์กรสาธารณสุขในแอฟริกากว่า 9 แห่ง เพื่อตรวจหาการจำหน่ายยาปลอม การซื้อขายยาอย่างผิดกฎหมาย และการทุจริตด้านเวชกรรมเพื่อไม่ให้มีคนฉวยโอกาสจากปัญหาสุขภาพของผู้อื่น

นอกจากนี้ USAID ยังมีโครงการอีกมากมายในการต่อต้านการทุจริต ไม่ว่าจะเป็น Project Grand Challenge ครั้งที่ 12 ที่ได้ชวนผู้เชี่ยวชาญจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมระดมความเห็นในการแก้ปัญหาการคอร์รัปชันข้ามชาติ สนับสนุนแพลตฟอร์ม I-KEEP ที่ช่วยให้ประชาชนข้อมูลจัดซื้อจ้างของรัฐได้ง่ายขึ้นเพื่อนำมาสู่ความโปร่งใส

เห็นได้ชัดว่าหลายแนวทางและกระบวนการของ USAID ช่วยสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างในระดับนานาชาติ นี่จึงอาจเป็นโอกาสให้กับองค์กรในหลายประเทศที่จะทำการศึกษาแนวทางทำงานร่วมกันเพื่อต่อต้านคอร์รัปชันระหว่างประเทศ และสร้างประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันระดับนานาชาติ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น