บทความวิจัย | การทุจริตทางวิชาการ: ปัญหาที่บั่นทอนความเข้มแข็งของสังคม

การทุจริตทางวิชาการมีแนวทางแก้ไขเริ่มต้นจากการสร้างเจตคติและค่านิยม โดยการกําหนดนโยบายการดำเนินการที่ชัดเจน การกําหนดประมวลจริยธรรม และการตรวจสอบผลงานทางวิชาการด้วยวยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ตลอดจนมีมาตรการในการลงโทษผู้ที่ทำการทุจริต

 

การทุจริตทางวิชาการเป็นการกระทําที่บั่นทอนความเข้มแข็งของสังคมโดยรวม เนื่องจากการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษา การศึกษาค้นคว้าผลงานทางวิชาการ และการสร้างผลงานทางวิชาการเป็นพื้นฐานของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเป็นองค์ความรู้ที่สังคมจะนําไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

 

การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอปัญหาการทุจริตทางวิชาการที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ความสําคัญของการทุจริตทางวิชาการ สาเหตุ และแนวทางการแก้ปัญหาการทุจริตทางวิชาการ โดยใช้วิธีการศึกษาทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการทุจริตทางวิชาการ สาเหตุ และแนวทางแก้ปัญหาการทุจริตทางวิชาการ

 

ผลการศึกษา พบว่า การทุจริตทางวิชาการประกอบด้วยลักษณะสําคัญ 3 ประการ คือ 1) การลอกเลียนผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) 2) การสร้างข้อมูลเท็จ การสร้าง ผลงานวิจัยเท็จ หรือการอ้างอิงเท็จ (Fabrication) และ 3) การโกงหรือการทุจริตอื่นๆ (Cheating) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดคุณธรรม การขาดอุดมการณ์ การมีค่านิยมที่ผิด และสาเหตุอื่นๆ เช่น ด้านรายได้ที่ต้องการทำวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ เป็นต้น

 

แนวทางแก้ไขปัญหาควรประกอบด้วยการสร้างเจตคติและค่านิยมให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก โดยการกําหนดนโยบายที่ชัดเจน การกําหนดประมวลจริยธรรม (Honor Code) และการตรวจสอบผลงานที่จะมีการนําเสนอโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ตลอดจนมีมาตรการในการลงโทษผู้ที่ทำการทุจริตทางวิชาการ จะเป็นการแก้ปัญหาและจัดการกับพฤติกรรมการทุจริตทางวิชาการได้อย่างครอบคลุม

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ธนพร  แย้มสุดา. (2560). การทุจริตทางวิชาการ : ปัญหาที่บั่นทอนความเข้มแข็งของสังคม. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 175181.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • ธนพร  แย้มสุดา 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | จะกลัวทำไมมีเมื่อกฎหมายหนุนหลัง ? ชวนส่องกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม

เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่การตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นับว่าเป็นอีกหนึ่งการมีส่วนร่วมที่สำคัญ KRAC คัดสรร ชวนดู กฎหมายมาตราไหน สนับสนุนประชาชนอย่างไรบ้าง ?

KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ? ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”

KRAC Insight | Data Standard: การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

KRAC ชวนฟังทีม Open Data ในเครือข่าย SEA-AC เล่าถึงการจัดการข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Data Standard) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)