บทความวิจัย : ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทย ในระยะเปลี่ยนผ่าน

ทำความเข้าใจทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองในการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ประชาชนเห็นชอบต่อการจัดตั้งรัฐบาลทหารเพื่อปฏิรูปประเทศ ขณะที่พรรคการเมืองเชื่อว่าพลังในการปฏิรูปมาจากประชาชน

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน (2) ทัศนคติของประชาชนจําแนกตามภูมิหลังประชากร (3) พลังอํานาจของชาติที่สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย และ (4) ความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทยของประชาชนและพรรคการเมือง  

งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากร รวม 6 ภูมิภาค คํานวณหาขนาดจํานวนกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่  โดยประมาณด้วยความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อน 5% ได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง 1,100 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบสอบถาม โดยหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ใช้การวิเคราะห์ความแปรปวน ค่า t-test  ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก หัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้แทนพรรค จํานวน 8-10 พรรค  

จากการศึกษาความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ประชาชนคาดหวังให้ได้นักการเมืองที่ดี มีคุณธรรม ไม่ทุจริตคอร์รัปชัน การเมืองไทยดีและเศรษฐกิจเจริญขึ้น ส่วนพรรคการเมืองส่วนใหญ่คาดหวังให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดจริงจัง รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

ในประเด็นพลังอํานาจของชาติที่สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย โดยภาพรวม ประชาชนคิดเห็นว่า พลังอํานาจที่สนับสนุนการปฏิรูปสูงสุดคือ พลังอำนาจทางทหาร รองลงมาคือ พลังอํานาจทางสังคม และพลังอํานาจทางการเมืองตามลําดับ ส่วนพรรคการเมืองมีความเห็นว่าพลังอํานาจที่สําคัญแท้จริงต้องมาจากประชาชน หรือพลังอํานาจทางสังคม

ต่อมา ในประเด็นทัศนคติต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน พบว่า ประชาชนมีทัศนคติเชิงบวกต่อการการจัดตั้งรัฐบาลทหาร เพื่อปฏิรูปประเทศไทยและการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่าง ๆ แตกต่างจากพรรคการเมืองส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงลบ หรือไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลทหาร

สุดท้าย ในประเด็นความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทยพบว่า โดยภาพรวม ประชาชนเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ให้มีการปฏิรูปการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ส่วนพรรคการเมืองส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสากลและสร้างความปรองดอง รวมทั้งปฏิรูปให้บังคับใช้กฎหมายปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

โรจน์ พิมานมาศสุริยา. (2560). ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทย ในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 15(2), 3344.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ