การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล
ปัญหาการทุจริตในจังหวัดเลยส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความกังวลเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในอำเภอเมือง ซึ่งพบว่าเป็นพื้นที่ที่มีสถิติการทุจริตค่อนข้างสูง การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการป้องกันการทุจริตในอำเภอเมือง จังหวัดเลย 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตโดยการสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดเลย และ 3) วิเคราะห์องค์ความรู้และรูปแบบการป้องกันการทุจริตโดยการสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดเลย
โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยผสานวิธี (Mix Method) คือการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก 25 คน และการสนทนากลุ่ม 10 คน และการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากการสำรวจประชาชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถาม
ผลการศึกษา พบว่า ในอำเภอเมือง จังหวัดเลยมีปัญหาการทุจริตที่สำคัญ คือ การซื้อเสียง การทุจริตเชิงนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงบประมาณ การสรรหาบุคลากรที่ไม่โปร่งใส การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นธรรม มีการประมาณราคาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สูงกว่ามาตรฐาน ในการพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตจากการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานสังกัดกระทรวงให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันการทุจริตโดยยึดกฎระเบียบข้อบังคับเป็นรูปแบบในการพัฒนาการป้องกันการทุจริต ซึ่งยึดมั่นในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการวางแผนการป้องกันการทุจริตกับหน่วยงานภายนอก และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
เมื่อวิเคราะห์องค์ความรู้และรูปแบบการป้องกันการทุจริตโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในอำเภอเมืองเลย พบว่า การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตแบบยั่งยืน ควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรความมีจรรยาบรรณของพนักงานในสายงานวิชาชีพ เพื่อเป็นมาตรการในการสร้างค่านิยมความมีจริยธรรมร่วมกัน โดยมีการจัดสวัสดิการให้กับพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน ยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อที่เป็นฐานการตรวจสอบจากภาครัฐและภาคประชาชน ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวจัดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับ หลักแนวส่งเสริมแนวคิดหลักธรรมาภิบาลแบบยั่งยืนตลอดไป
รูปแบบ APA
ศตวรรษ สงกาผัน. (2563). การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 29–41.
- ศตวรรษ สงกาผัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
หัวข้อ
โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง