บทความวิจัย | การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล

 

ปัญหาการทุจริตในจังหวัดเลยส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความกังวลเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในอำเภอเมือง ซึ่งพบว่าเป็นพื้นที่ที่มีสถิติการทุจริตค่อนข้างสูง การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการป้องกันการทุจริตในอำเภอเมือง จังหวัดเลย 2) พัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตโดยการสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดเลย และ 3) วิเคราะห์องค์ความรู้และรูปแบบการป้องกันการทุจริตโดยการสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดเลย 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยผสานวิธี (Mix Method) คือการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์เชิงลึก 25 คน และการสนทนากลุ่ม 10 คน และการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากการสำรวจประชาชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถาม 

 

ผลการศึกษาในอำเภอเมืองจังหวัดเลย พบว่า ปัญหาการทุจริตที่สำคัญคือ การซื้อเสียง การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารงบประมาณที่ไม่โปร่งใส ในการพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตจากการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ข้าราชการให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริตโดยยึดกฎระเบียบและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และในการพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีจรรยาบรรณและให้สวัสดิการที่เท่าเทียม ยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ศตวรรษ สงกาผัน. (2563). การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 2941. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง

ศตวรรษ สงกาผัน

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

You might also like...

KRAC Hot News I สิทธิและสวัสดิการเเรงงาน หัวใจของการขับเคลื่อน ESG ในโลกธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล

เพราะธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเลขและกำไร แต่รวมถึงระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อมนุษย์ บริษัทที่ให้ความใส่ใจในแรงงานอย่างจริงใจ จะไม่เพียงได้แค่แรงงานที่ขยันขันแข็ง แต่จะได้ “หัวใจ” ที่พร้อมร่วมเดินทางไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

โดยปกติแล้วการคอร์รัปชันควรถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ปกติ ผิดกฎหมาย ผิดจริยธรรม และควรถูกจัดการอย่างเด็ดขาด แต่ในประเทศไทย กลับมีพฤติกรรมจำนวนมากที่สังคมมองว่า “ไม่เป็นไร ถือว่าคนรู้จักกันช่วยเหลือกัน” หรือ “ใครๆ ที่มีอำนาจก็ทำกันทั้งนั้น”

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก