บทความวิจัย | การวิเคราะห์แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย

หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางการบริหารที่มีการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประสิทธิภาพให้องค์กร ดังนั้น การวิเคราะห์แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย จึงเป็นกรอบแนวทางให้การบริหารองค์กรการเงินชุมชนมีประสิทธิภาพต่อไป

 

ธรรมาภิบาลเป็นแนวทางการบริหารที่มีการนำไปประยุกต์ใช้ทั้งการบริหารงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เพื่อเป็นกรอบในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งภายในและภายนอกองค์กรในหลายด้าน บทความนี้ จึงสนใจที่จะวิเคราะห์แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทยเพื่อประโยชน์ต่อองค์กรในการนําไปเป็นกรอบแนวทางการบริหารให้มีประสิทธิภาพ

 

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์กรอบแนวคิดทางการบริหาร ออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผู้นํา ด้านการบริหาร การพัฒนาชุมชนและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และด้านการสร้างและการพัฒนาเครือข่าย โดยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เชื่อมโยงแนวคิดธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย เพื่อพัฒนาการบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพขององค์กรการเงินชุมชน 

 

ผู้วิจัยได้นำเสนอเเนวทางการประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย ที่จะต้องพัฒนาศักยภาพของความเป็นผู้นําและความรับผิดชอบในทางการบริหาร ในด้านการบริหาร ที่ผู้บริหารที่ดีนั้นต้องมีการกํากับดูแลกิจการที่ดี การมีส่วนร่วมของสมาชิก และเน้นฉันทามติในการบริหาร ด้านการพัฒนาชุมชน ตามแนวคิดธรรมาภิบาล นั่นคือ ความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ขององค์กรการเงินชุมชน คือต้องสามารถสร้างเสริมการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไปได้โดยการกระจายอํานาจใน การตัดสินใจให้กับชุมชน และด้านเครือข่าย ตามแนวคิดธรรมาภิบาล คือ การบริหารที่ดีจะต้องสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

นันธิดา จันทร์ศิริ. (2559). การวิเคราะห์แนวคิดและข้อเสนอเพื่อการประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 162-169.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2559
ผู้แต่ง

นันธิดา จันทร์ศิริ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ให้กลายเป็นประเทศที่โปร่งใสเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ?

“ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้” ประเทศจากเอเชียเพียงไม่กี่ประเทศที่มีความโปร่งใสอยู่ในดับต้น ๆ ของโลก คำถามคือ พวกเขาประสบความสำเร็จแบบนั้นได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | How to โปร่งใส : แก้ปัญหาทุจริตเชิงนโยบายสไตล์ญี่ปุ่น

“ทำลายจุดอ่อนเสริมจุดแข็ง” KRAC ชวนดูวิธีการปฏิรูประบบการบริหารราชการและการกำหนดนโยบาย รวมถึงการดำเนินการทางกฎหมายกรณีทุจริตเชิงนโยบายของประเทศญี่ปุ่น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด ต้นเหตุการเสียงบประมาณรัฐหลักพันล้าน

“รถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด” เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างรุนแรง ซึ่งการปล่อยให้มีการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดส่วนหนึ่งเกิดจากการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนและปล่อยปละละเลยรถบรรทุกเหล่านี้