บทความวิจัย | การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้สามารถติดตาม ปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้นั้นต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต 

 

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยถูกมองว่าเป็นองค์กรมีการทุจริตคอร์รัปชันสูง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากสาเหตุการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) การศึกษาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างจากประชาชนดั้งเดิม ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ข้าราชการ และเจ้าของธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 45 คน 

 

ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุหลักของการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากช่องว่างของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ และยังเปิดโอกาสให้เกิดการทุจริตได้ ส่วนผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการทุจริต พบว่า ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การทุจริตส่งผลให้ท้องถิ่นขาดงบประมาณในการพัฒนาและขาดความเจริญ สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนสามารถร่วมกันติดตามและตรวจสอบการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ประสงค์ โตนด. (2566). การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต. วารสารการเมืองการปกครอง, 13(1), 8094

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

ประสงค์ โตนด

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)