บทความวิจัย | การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริต

การรวบรวมกรณีศึกษาเกี่ยวกับคดีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริตทั้งในและต่างประเทศ เพื่อศึกษาแนวทางการตัดสินคดี 

 

การประกันภัยมีขึ้นเพื่อรองรับความเสียหายอันเกิดจากภัยที่เกิดจากธรรมชาติ หรือมนุษย์อันก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่พึงปรารถนาทั้งปวงโดยต้องไม่ได้เกิดจากเจตนา อย่างไรก็ตามมักจะมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ฝ่ายผู้เอาประกันภัยบางรายได้กระทำละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับประกันภัยโดยอาศัยช่องว่างกระทำการทุจริตเพื่อหวังประโยชน์จากการประกันภัย

ผู้ศึกษาจึงได้ทำการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับคดีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริตและคำตัดสินที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศเพื่อศึกษาแนวทางการตัดสินคดีที่เกิดขึ้น

ผลการศึกษา พบว่า ความวินาศภัยที่เกิดขึ้นเพราะความทุจริตของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ในระหว่างสัญญาประกันภัยมีผลบังคับอยู่นั้นเป็นผลให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย การทุจริตจากสัญญาประกันภัยในอดีต ปัจจุบัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วผู้รับประกันภัยจะเป็นฝ่ายที่ต้องมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการทุจริตจากการทำสัญญาประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจึงจะมีสิทธิปฏิเสธที่จะไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

วรนนท์ ลีลาเวทพงษ์. (2558). การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริต. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(2), 89–100

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง

วรนนท์ ลีลาเวทพงษ์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น