แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และการสนับสนุนระบบการร้องเรียน ความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต รวมถึงการมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหาร
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อ ศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทําการศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี
โดยใช้วิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้นําองค์กร ภาครัฐ ภาคประชาชนและ พระสงฆ์ จํานวน 18 รูป/คน นําผลการวิจัยมาสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 10 รูป/คนวิเคราะห์ เนื้อหา สรุปผล และอธิบายเชื่อโยงความสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า เครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 2 เครือข่ายคือ เครือข่ายที่ แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และเครือข่ายที่เกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านทุจริต มี 7 กระบวนการดังนี้ (1) การสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบ (2) การสร้างอุดมการณ์ผ่ วนการเรียนรู้ประสบการณ์ (3) การแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงาน (4) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรรักความ ซื่อสัตย์และความยุติธรรม (5) การวางแผนการป้องกันการทุจริต (6) การส่งเสริมและดําเนินการเฝ้าระวังการ ทุจริต (7) การสรุปบทเรียนประเมินผล
แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริต ตามแบบ 7ส 220 18 มีดังนี้ 7 ส คือ ส.1 ส่งเสริมบทบาทของสภา ส.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ส.3 สร้างความเข้าใจ ให้แก่ประชาชน ส.4 สร้างกลไกเชื่อมประสานองค์กรกลางกับทุกภาคส่วน ส.5 สร้างตัวอย่างที่ดี ส.6 สร้าง สังคมหิริโอตัปปะ และส.7 สนับสนุนการร้องเรียนผ่านระบบ 2 ว คือ ว.1 วางแผนปฏิบัติการป้องกันการ ทุจริต ว.2 วางหลักเกณฑ์การได้มาของผู้บริหาร 18 คือ ย.1 ยอมรับการตรวจสอบ
รูปแบบ APA
สมชาย ชูเมือง, วรวุฒิ มูลตรีอุตร์, มนตรี วรภัทรทรัพย์, พระมหาพิพัฒพงศ์ ฐิตธมฺโม และพระมหาคำพันธุ์ รณญฺชโย (แสนยโยธิน). (2563). การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 5(5), 190–202.
- สมชาย ชูเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- วรวุฒิ มูลตรีอุตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- มนตรี วรภัทรทรัพย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พระมหาพิพัฒพงศ์ ฐิตธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พระมหาคำพันธุ์ รณญฺชโย (แสนยโยธิน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หัวข้อ
โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง