บทความวิจัย | ภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์

แนวทางของภาคีเครือข่ายในการดำเนินกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น คือการส่งเสริมเครือข่ายภาคประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับท้องถิ่นการปกครองของตนเอง และส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

 

การพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม จะส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญของการพัฒนาการเมืองระดับชาติ แต่เมื่อพิจารณาสถานการณ์ในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งไม่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นมาเป็นระยะเวลา 6-7 ปี และให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองเดิมหรือปลัดเป็นผู้รักษาการแทนนายกเทศมนตรี

 

งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ระหว่างปี พ.ศ.2540-2560 2) เพื่อศึกษาปัจจัยภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อหาแนวทางภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากทัศนะของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จํานวน 50 คน ซึ่งทําการคัดเลือกแบบเจาะจง 

 

ผลการวิจัย พบว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์มีปัญหาด้านการซื้อสิทธิขายเสียงทั้งนักการเมืองและประชาชน กฎหมายไม่มีความเด็ดขาด การแบ่งพรรคพวกการเรียกรับผลประโยชน์ และนักการเมืองหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง โดยปัจจัยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น ได้แก่ ปัจจัยการตรวจสอบอํานาจรัฐในระดับท้องถิ่น ปัจจัยการถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น ปัจจัยการเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ปัจจัยการเสนอการออกกฎหมายท้องถิ่น และปัจจัยการออกเสียงประชามติ

 

สำหรับแนวทางของภาคีเครือข่ายในการดำเนินกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น ควรให้ความสำคัญกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน โดยดำเนินการให้ภาคประชาชนเกิดความเข้าใจและรู้จักท้องถิ่นของตนเอง ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนมีส่วนร่วมกําหนดการดำเนินการต่าง ๆ ของท้องถิ่น

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ชูศักดิ์ คําล้น และกฤษณา ไวสํารวจ. (2563). ภาคีเครือข่ายกับกลไกการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 388402.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • ชูศักดิ์ คําล้น 
  • กฤษณา ไวสํารวจ
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น