บทความวิจัย | บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

การแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและรายงานการทำงานของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานที่ทำงานด้านการตรวจสอบการทุจริตสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ครอบคลุมและลดโอกาสของการถูกปกปิดข้อมูล

 

จากความพยายามในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในประเทศไทยโดยรัฐบาลที่ยังคงไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก จึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญและสามารถแหล่งข้อมูลให้กับหน่วยงานด้านการตรวจสอบการทุจริตได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

 

การศึกษาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ โดยใช้วิธิการศึกษาแบบทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตในสังคมไทยและบทบาทของประชาชนในการป้องการทุจริตของภาครัฐ  

 

ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนต้องมีส่วนรับผิดชอบดูแลประเทศชาติจากการทุจริตทุกรูปแบบ และภาครัฐต้องมีการส่งเสริมบทบาทดังกล่าวของประชาชน เนื่องจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจการทุจริตโดยตรงอาจทําหน้าที่ได้ไม่ทั่วถึง และอาจถูกปิดบังข้อมูล แต่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่จะสามารถพบเห็นการกระทําของเจ้าที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐที่ทําการทุจริตจะคอยเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแลแทนองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบโดยตรง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

สถิตย์ กรมทอง, ณัฐวัฒน์  เนตรถา และ วีรนุช พรมจักร์. (2565). บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2(6), 91100.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • สถิตย์ กรมทอง 
  • ณัฐวัฒน์  เนตรถา 
  • วีรนุช พรมจักร์ 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.