บทความวิจัย | บทบาทและปัญหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี

แนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี คือการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อำนาจและบทบาทแก่คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดมากขึ้น และกกต. ควรสร้างการตระหนักรู้ต่อผลเสียของการทุจริตเลือกตั้งกับประชาชนอย่างจริงจัง 

 

จากปัญหาการทุจริตเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่น และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกกต.ประจำจังหวัดเพชรบุรี บทความนี้ต้องการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตเลือกตั้ง 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเลือกตั้ง และปัญหาในการควบคุมการทุจริตเลือกตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด รวมถึงกระบวนการ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ผลการวิจัย พบว่า การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ การทุจริตเลือกตั้งทางตรงและการทุจริตเลือกตั้งทางอ้อม โดยมีวิธีการและเครือข่ายในการทุจริตเลือกตั้งหลายรูปแบบ อาทิ เครือข่ายความเป็นญาติพี่น้อง ความเป็นเพื่อนนักการเมืองท้องถิ่นด้วยกันที่ช่วยเหลือกัน เครือข่ายความสัมพันธ์กับนักการเมืองระดับชาติในจังหวัดและนอกจังหวัด เป็นต้น 

 

ดังนั้น แนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี คือ การแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยให้อำนาจและบทบาทแก่คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพิ่มมากขึ้น และ กกต. ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่ประชาชนในเรื่องผลเสียของการทุจริตเลือกตั้งอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2562). บทบาทและปัญหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(1), 68-89.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ัชชานุช พิชิตธนารัตน์
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่องการตรวจสอบทรัพย์สินเจ้าหน้าที่รัฐ : บทเรียนจาก 3 ชาติ

ความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน KRAC จึงอยากชวนมาดูกลไกการตรวจสอบทรัพย์สินของสหรัฐฯ จอร์เจีย และฮ่องกง พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 แนวทางปลดล็อก “ผู้แจ้งเบาะแส” สู่สังคมที่โปร่งใส

กลไกการแจ้งเบาะแส (Whistleblowing)” คือ หนึ่งในกลไกสำคัญในการต่อต้านการทุจริตโดยมี “ผู้แจ้งเบาะแส” เป็นกุญแจสำคัญ แต่ความเป็นจริงแล้วการสนับสนุนให้คนเข้ามาแจ้งเหตุเป็นเรื่องยากมาก จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ถ้าสื่อไทยมีเสรีภาพมากขึ้น จะช่วยลดการคอร์รัปชันได้หรือไม่ ?

สื่อมวลชนไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่การรายงานข่าว แต่ยังสามารถร่วมแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาการคอร์รัปชันผ่านการเปิดโปงการกระทำผิดของหน่วยงานรัฐได้ ร่วมหาคำตอบว่าเสรีภาพสื่อมวลชนไทยส่งผลต่อระดับคอร์รัปชันในสังคมไทยอย่างไร