บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

 
 

แม้ว่าโดยหลักการแล้วการกระจายอำนาจสู่องค์กรส่วนท้องถิ่นมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อให้บริการต่าง ๆ ของรัฐมีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติ การกระจายอำนาจกลับส่งผลให้แนวโน้นของการทุจริตในท้องถิ่นเพิ่มมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน จากปัญหาดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้ จึงได้ศึกษาถึงประเด็นคอร์รัปชันที่สัมพันธ์กับท้องถิ่น โดยศึกษาจากกรณีตัวอย่างในจังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี (2) วิเคราะห์การเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชัน และ (3) ศึกษาการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชัน

บทความนี้ เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ เน้นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าพนักงานในสังกัดของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี รวมรวมข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย ตําราทางวิชาการ วารสารและหนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชัน การจัดกระบวนการวิจัยด้วยการพรรณนา และการบูรณาการข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในพื้นที่ใช้การศึกษาภาคสนาม เพื่อให้ทราบถึงแนวคิด หลักการ รูปแบบ ความสัมพันธ์ และกระบวนการสร้างความรู้และการควบคุมคอร์รัปชัน ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการวิจัยทั้งหมด แล้วนําข้อมูลมาสังเคราะห์ผล

จากการศึกษา พบว่า องค์กรส่วนท้องถิ่นต้องสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพด้วยการจัดอบรมด้านกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องต่อการควบคุมการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และต้องดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายการเปิดเผยข้อมูล การประชาสัมพันธ์ การเข้าร่วมกิจกรรม และเป็นคณะกรรมการดําเนินงาน ซึ่งดําเนินการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับชั้น อีกทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับต้องแสดงบทบาทควบคุมการทุจริตทุกรูปแบบ ตามหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ให้มีแนวทางเป็นรูปธรรม นําเสนอข้อมูลองค์กรอย่างโปร่งใส และเปิดเผยการทุจริตต่อสาธารณะชน

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อนุชา พละกุล., ทิพย์วรรณ จันทรา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมจรเพชรบุรีปริทัศน์, 22(2), 33–44.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • อนุชา พละกุล
  • ทิพย์วรรณ จันทรา
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้