บทความวิจัย | การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริต การศึกษาเชิงประจักษ์ของประเทศไทย

การศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน พบว่า การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทำให้การดำเนินงานมีความโปร่งใสมากขึ้น

การทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ สร้างความเสียหายอย่างมากมายให้แก่ประเทศและประชาชนไทย จากประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐของต่างประเทศพบว่าการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้งบประมาณของรัฐได้อย่างคุ้มค่า

 

การศึกษาในครั้งนี้ จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันว่ามีผลสำเร็จหรือไม่ สำเร็จเพียงใด โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการรวบรวมข้อมูลการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในโครงการที่เข้าร่วมในข้อตกลงคุณธรรมในช่วงปีพ.ศ. 2559 – 2561 (เดือนกันยายน) 

 

ผลการศึกษา พบว่า โครงการในปี พ.ศ. 2558-2561 รวม 38 โครงการ และมีผู้สังเกตการณ์คุณธรรมเข้าสังเกตการณ์ในโครงการดังกล่าว ทำให้ประหยัดงบประมาณ 71,127 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่างบประมาณคิดเป็นร้อยละ 32.85 จึงถือว่าการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนส่งผลดีต่อการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

รัฐบาลจึงควรสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้มากขึ้น และขยายโอกาสการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันให้กว้างขึ้น วางรูปแบบและระเบียบที่ชัดเจนในการประสานงานระหว่างองค์กรอิสระกับการทำงานภาคประชาชน เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันหรือผู้สังเกตการณ์คุณธรรม ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ธีรพล กาญจนากาศ2561. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริต การศึกษาเชิงประจักษ์ของประเทศไท. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 40(2), 349365.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

ธีรพล กาญจนากาศ 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.