บทความวิจัย | มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การศึกษามาตการส่งเสริมความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่ไปพร้อมกับหลักธรรมที่ช่วยนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสยิ่งขึ้น คือ หลักหิริอตตัปปะ 

 

เนื่องจากพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแผนปฏิบัติการกําหนดแผนขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องการถ่ายโอนอำนาจ มิติที่สําคัญมิใช่เพียงหน้าที่ที่ครอบคลุมมากขึ้นและกระทบต่อประชาชนทุกด้าน หากยังหมายถึงอํานาจอิสระในการตัดสินใจของท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น ในสภาพเช่นนี้โอกาสของการเกิดการทุจริตคอร์รัปชันก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

 

จากข้อมูลระบุว่า การกล่าวหาและร้องเรียนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานท้องถิ่น มีการกระทําทุจริตระหว่าง พ.ศ. 2543-2550 โดยองค์การบริหารส่วนตําบลถูกกล่าวหา 3,235 เรื่อง มีผู้ถูกกล่าวหาจํานวน 5,778 ราย เทศบาลถูกกล่าวหาจํานวน 1,705 เรื่อง มีผู้ถูกกล่าวหาจํานวน 2,766 ราย ลักษณะการทุจริตในท้องถิ่น คือ มีการทุจริตด้านงบประมาณ การทําบัญชี การจัดซื้อจัดจ้างและการเงินการคลัง ดังนี้ ท้องถิ่นไม่มีการจัดทําทะเบียนยืมเงิน ร้อยละ 14 ไม่จัดทําบัญชีควบคุมพัสดุ ร้อยละ 12 ไม่มีหลักฐานการเบิกจ่ายพัสดุ ร้อยละ 13 ไม่มีการทํารายงานแสดงรายรับจ่าย ร้อยละ 15 ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจรับพัสดุ ร้อยละ 12 มีญาติผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นมารับเหมาะเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ร้อยละ 11.5 ลักษณะการทุจริตเกิดจากบุคคล ผู้บริหารใช้ตําแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ ร้อยละ 35 การทุจริตเกิดจากช่องว่างของกฎระเบียบและกฎหมาย การทุจริตเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดศีลธรรม การใช้อํานาจและบารมีโดยมิชอบ

 

จากการศึกษาพบว่า มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ความโปร่งด้านสภาท้องถิ่น ความโปร่งด้านการเปิดเผย เผยแพร่การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ความโปร่งใสด้านการจัดทำแผนงานโครงการ ความโปร่งใสด้านการประเมินผลและการตรวจสอบ ความโปร่งใสด้านการบริหารกิจการ และหลักธรรมที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสยิ่งขึ้นคือ หิริ การเกรงกลัวต่อความทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตทางใจที่เริ่มจากการคิดและมุ่งหวังจะคดโกงหรือคอร์รัปชันหรือบิดเบือนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตัวเองปรารถนา โอตตัปปะ การเกรงกลัวต่อผลของบาปที่จะเกิดขึ้นตามมา เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความโปร่งใสยิ่งขึ้นเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิตของประชาชน 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ิชุดา สร้อยสุด, กฤษณ์วริศ ชะนิดไทย และพัฒนพันธ์ เขตต์กัน. (2563). มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน, 5(3), 215227.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • วิชุดา สร้อยสุด 
  • กฤษณ์วริศ ชะนิดไทย 
  • พัฒนพันธ์ เขตต์กัน 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.