บทความวิจัย | มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ

คดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในวงราชการก่อให้เกิดผลเสียในวงกว้างต่อการบริหารของรัฐ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้พยานที่เป็นราชการกล้าเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น จึงควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อหน้าที่การงานของผู้ให้ข้อมูล

 

การให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลต่อทางราชการ หรือที่เรียกกันในต่างประเทศว่า Whistle Blower นั้น เป็นเรื่องใหม่ในวงราชการ ยกเว้นเรื่องที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ซึ่งแตกต่างกับการคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการที่มีมูลมาจากการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน 

 

ดังนั้น เพื่อให้มีการวางระบบกฎหมาย หลักเกณฑ์ และวิธีการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลดังกล่าวมีมาตรฐานที่เป็นสากลและให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องมีการศึกษาหลักการและแนวทางปฏิบัติ โดยเทียบเคียงกับหลักเกณฑ์ และวิธีการในเรื่องนี้ที่ใช้บังคับอยู่ในต่างประเทศนำมาประกอบในการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูล หรือผู้ให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อไป  

 

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นหลักประกันความมั่นคงในอาชีพแก่ข้าราชการและทำให้มีผู้กล้าที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่มีมูลกรณีเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการให้สมตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่เน้นในเรื่องของการปราบปรามการทุจริตในวงราชการ 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2551). มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(1), 4559.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2551
ผู้แต่ง

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน : การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต

ศึกษาปัญหาการแจ้งเบาะแสการทุจริตในราชการไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่จากหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น เพื่อสำรวจความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐและพฤติกรรมการแจ้งเบาะแสการทุจริต

มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน

ศึกษากลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันและแนวทางเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และสิทธิเสรีภาพ

บทความวิจัย | มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ

คดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในวงราชการก่อให้เกิดผลเสียต่อการบริหารของรัฐ เพื่อสนับสนุนให้พยานที่เป็นข้าราชการกล้าเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อหน้าที่การงานของผู้ให้ข้อมูล

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!