คดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในวงราชการก่อให้เกิดผลเสียในวงกว้างต่อการบริหารของรัฐ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้พยานที่เป็นราชการกล้าเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น จึงควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อหน้าที่การงานของผู้ให้ข้อมูล
การให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลต่อทางราชการ หรือที่เรียกกันในต่างประเทศว่า Whistle Blower นั้น เป็นเรื่องใหม่ในวงราชการ ยกเว้นเรื่องที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ซึ่งแตกต่างกับการคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการที่มีมูลมาจากการกระทำที่เป็นความผิดทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ดังนั้น เพื่อให้มีการวางระบบกฎหมาย หลักเกณฑ์ และวิธีการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลดังกล่าวมีมาตรฐานที่เป็นสากลและให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องมีการศึกษาหลักการและแนวทางปฏิบัติ โดยเทียบเคียงกับหลักเกณฑ์ และวิธีการในเรื่องนี้ที่ใช้บังคับอยู่ในต่างประเทศนำมาประกอบในการร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูล หรือผู้ให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นหลักประกันความมั่นคงในอาชีพแก่ข้าราชการและทำให้มีผู้กล้าที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่มีมูลกรณีเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการให้สมตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่เน้นในเรื่องของการปราบปรามการทุจริตในวงราชการ
รูปแบบ APA
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2551). มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(1), 45–59.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
หัวข้อ
ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน : การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต
ศึกษาปัญหาการแจ้งเบาะแสการทุจริตในราชการไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่จากหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น เพื่อสำรวจความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐและพฤติกรรมการแจ้งเบาะแสการทุจริต
มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน
ศึกษากลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันและแนวทางเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และสิทธิเสรีภาพ
บทความวิจัย | มาตรการในการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ใช้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
คดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชันในวงราชการก่อให้เกิดผลเสียต่อการบริหารของรัฐ เพื่อสนับสนุนให้พยานที่เป็นข้าราชการกล้าเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น จึงควรแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อหน้าที่การงานของผู้ให้ข้อมูล