บทความวิจัย | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

การศึกษาแนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

 

การทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในปัจจุบัน พบว่า มีการจัดตั้ง “ขบวนการทุจริต” ด้วยรูปแบบสถาบันกวดวิชาและอ้างว่าสามารถช่วยเหลือผู้เข้าสอบให้ผ่านการคัดเลือกโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเรียกรับค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยกรณีดังกล่าวแม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถจับกุมผู้ทุจริตได้แต่ไม่สามารถดำเนินคดีอาญาได้เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ จากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตในการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการจะมีกฎหมายใดสามารถนำมาใช้ลงโทษผู้กระทำการทุจริตได้มากน้อยเพียงใด และเพียงพอหรือไม่ อย่างไร และหากไม่เพียงพอจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร 

วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิด ข้อมูลทางด้านกฎหมาย แนวคิดทฤษฎี แนวนโยบายแห่งรัฐ การบังคับใช้กฎหมาย ข้อเท็จจริงด้านสถิติการประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการทุจริตสอบเข้ารับราชการไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 

ผลการวิจัย พบว่า มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดในการสอบ ทำให้ผู้กระทำผิดดำเนินการทุจริตในการสอบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงควรบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตการสอบเข้ารับราชการให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามผู้ที่คิดจะกระทำผิดทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อภิชาติ บวบขม และศิริพงษ์ โสภาพระครู. (2563). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 60-75.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • อภิชาติ บวบขม
  • ศิริพงษ์  โสภา 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

You might also like...

KRAC Hot News I อุบัติเหตุการก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 2: ภาพสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างภาครัฐไทย

อุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนพระราม 2 ถึงเวลาปฏิรูป! ระบบจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และต้องมีมาตรการป้องกันและลงโทษที่จริงจังกันเสียที

KRAC Hot News I ผู้หญิงไม่เพียงแต่ถูกเรียกสินบน… แต่ยังถูกขอเรื่องเซ็กส์ด้วย

งานวิจัยจาก Transparency International เผยว่า “เพศ” ส่งผลต่อรูปแบบการเผชิญกับคอร์รัปชัน! เพราะผู้หญิงอาจถูกบังคับให้จ่ายสินบนทางเพศ หรือถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)