บทความวิจัย | มูลเหตุแห่งการเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบที่เหมาะสมโดยผู้นำ

การศึกษาสาเหตุและแก้ไขปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ พบว่า การแก้ไขปัญหาการทุจริตได้อย่างยั่งยืน ผู้นำต้องแบบอย่างและไม่ทำการทุจริตเสียเอง และดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาชาไม่ให้ทำการทุจริต ประกอบกับการสร้างและพัฒนากลไกตรวจสอบและป้องกันการทุจริต

 

ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตผู้นำในระดับประเทศและระดับย่อยมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จและยั่งยืนของการแก้ไขปัญหา

 

ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้ จึงต้องการนำเสนอประเด็นสำคัญ คือ 1) การทำความเข้าใจถึงสาเหตุและแก้ไขปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ 2) สิ่งที่ผู้นำควรปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตที่ได้ผลและยั่งยืน และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการทุจริตเมื่อพิจารณาจากมิติการดำเนินการที่เหมาะสมโดยผู้นำ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของการทุจริตในมิติของผู้นำ 

 

ผลจากการศึกษา พบว่า สาเหตุและแก้ไขปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับผู้นำมีอยู่สองประการหลัก คือ 1) ผู้นำทำการทุจริตเสียเอง และ 2) ผู้นำละเว้น ผ่อนปรน หรือเพิกเฉยต่อการลงโทษผู้ทำความผิดทุจริต นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญอีกประการคือ ลักษณะของผู้นำที่ทำให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น คือ 1) ผู้นำต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่ทำการทุจริตเสียเอง และ 2) ผู้นำจะต้องมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อเสนอแนะในมิติของผู้นำเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตได้อย่างยั่งยืน มีอยู่ด้วยกันสามประการ คือ 1) ผู้นำประพฤติตนเป็นตัวอย่างในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต และไม่ทำการทุจริตเสียเอง 2) ผู้นำควบคุมมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการใดที่เป็นการทุจริต และ 3) ผู้นำสร้างและพัฒนากลไก รวมถึงมาตรการด้านการตรวจสอบความโปร่งใสในการดำเนินงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านการป้องกันการทุจริต และด้านการปรับปรุงแก้ไขบทลงโทษให้มีความเข้มงวดและความเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ณัฐกริช เปาอินทร์. (2557). มูลเหตุแห่งการเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขปัญหา การทุจริตประพฤติมิชอบที่เหมาะสมโดยผู้นำ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 6(3), 181205.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง

ณัฐกริช เปาอินทร์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.