บทความวิจัย | รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ขณะที่การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 
 

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต 2) พัฒนารูปแบบและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และ 3) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน  

 

โดยมีวิธีการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จากการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 635 คน  

 

ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยรูปแบบและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต คือ 1) รูปแบบการส่งเสริมจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตด้วยการประยุกต์หลักธรรมทางพุทธศาสนาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) การเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนพลัง “บ-ว-ร” ต่อต้านการทุจริต การเสริมสร้างบทบาทพระสงฆ์ในการป้องกันการทุจริต และการส่งเสริมวัฒนธรรมการดำเนินวิถีชีวิตของเศรษฐกิจพอเพียง

 

ในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยเครือข่ายภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา โดยให้ความสำคัญด้าน 1) การให้ข้อมูลข่าวสาร รับฟังความคิดเห็น คำปรึกษาหารือ วางแผนร่วมกัน มีบทบาทร่วมปฏิบัติ และ 2) กระบวนการเสริมสร้างเครือข่าย คือกระบวนการความคิดร่วมกัน ตระหนักร่วมกันสร้าง ร่วมกันพัฒนา

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พระครูอาทรวชิรกิจ, พระโกศล มณิรตนา, & พระครูใบฏีกาสุทัศน์ ธมฺมปาโล. (2023). รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 49–64.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • พระครูอาทรวชิรกิจ
  • พระโกศล มณิรตนา
  • พระครูใบฏีกาสุทัศน์ ธมฺมปาโล
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)

KRAC Insight | ปฏิรูปวงการพลังงานไทยให้ถึงฝัน ชวนรู้จัก “การแสวงหาค่าเช่า” ในอุตสาหกรรมพลังงานไทย

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเกี่ยวกับโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลังงานไทย และทำความเข้าใจกับค่าเช่าและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การออกแบบแนวทางการปฏิรูปพลังงานที่ความโปร่งใสและยั่งยืนของไทย

KRAC Insight | PEPs: ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ สู่การสร้างข้อมูลเพื่อแก้ไขคอร์รัปชันข้ามชาติ

KRAC ชวนดูข้อเสนอต่อเเนวทางการดำเนินงานตาม PEPs จากทีม Open Data เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ Data standard และตัวอย่างการใช้ชุดข้อมูล PEPs สำหรับสื่อมวลชน