บทความวิจัย | รูปแบบความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย โดยศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

การยกระดับความร่วมมือและการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย ต้องอาศัยการสร้างประชาธิปไตยแบบเข้มข้น โดยเน้นไปยังการสร้างระบบและกลไกให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การแก้ไขกฎหมาย ลดการผูกขาดทางการตลาดและการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 

 

การทุจริตส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ลดลง การสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษี ตลอดจนการทำลายระบบการเมือง เศรษฐกิจ และการปกครอง การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 2) ศึกษารูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศไทย 3) ศึกษาถึงรูปแบบความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย  

 

โดยมีวิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการศึกษาภาคสนามด้วยวิธี การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้รู้ และได้นำผลการศึกษามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ 

 

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นรูปแบบที่เน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในเรื่องป้องกันการทุจริต ขณะที่รูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศไทยมีลักษณะเป็นความร่วมมือในการป้องกันการทุจริตระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม ตลอดจนองค์กรอิสระ แต่กลับมีความร่วมมือกับภาคประชาชนน้อยมาก

 

ดังนั้น การยกระดับรูปแบบความร่วมมือและการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย จากการศึกษารูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ คือ การสร้างประชาธิปไตยแบบเข้มข้น (Thick Democracy) โดยเน้นไปยังการสร้างระบบและกลไกให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การแก้ไขกฎหมาย ลดการผูกขาดทางการตลาดและการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์, นวลจันทร์ แจ้งจิตร, สว่าง มีแสง, อนันต์ เพชรใหม่, นนท์ น้าประทานสุข. (2563). รูปแบบความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย โดยศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 110.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์
  • นวลจันทร์ แจ้งจิตร 
  • สว่าง มีแสง
  • อนันต์ เพชรใหม่ 
  • นนท์ น้าประทานสุข
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | จะกลัวทำไมมีเมื่อกฎหมายหนุนหลัง ? ชวนส่องกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม

เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่การตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นับว่าเป็นอีกหนึ่งการมีส่วนร่วมที่สำคัญ KRAC คัดสรร ชวนดู กฎหมายมาตราไหน สนับสนุนประชาชนอย่างไรบ้าง ?

KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ? ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”

KRAC Insight | Data Standard: การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

KRAC ชวนฟังทีม Open Data ในเครือข่าย SEA-AC เล่าถึงการจัดการข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Data Standard) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)