บทความวิจัย | รับค่านิยมที่ผิดจะกลายเป็นบัณฑิตขาดจิตสํานึก

การศึกษาสาเหตุของการไร้จิตสํานึกในบัณฑิต พิจารณาในมิติด้านค่านิยมต่อการทุจริต พบว่า นักเรียนและนิสิต-นักศึกษา ใช้เทคโนโลยีเพื่อกระทำการทุจริตเพิ่มขึ้น
 

จากการสํารวจสภาวการณ์ปัจจุบันพบว่า จิตสํานึกในเรื่องความเป็นมนุษย์ของนิสิต-นักศึกษากําลังเสื่อมถอยลงจนอยู่ในขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะจิตสํานึกด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม และจิตสํานึกด้านความมีวินัยในตัวเอง และจากการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ พบว่า ปัจจุบันจิตสํานึกเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  

 

ผลการสํารวจสะท้อนภาพวิกฤตของการไร้จิตสํานึกในด้านต่างๆ ซึ่งทําให้บัณฑิตมีความฟุ้งเฟ้อ สนใจในวัตถุนิยมและหลงในแสงสี โดยพบสาเหตุหลัก ดังนี้ 1) ค่านิยมการบริโภคที่ฟุ้งเฟ้อ พบว่า นิสิต-นักศึกษาส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งขับรถยนต์ราคาคันละหลายล้านบาท อีกทั้งยัง นําเงินกู้ยืมเงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ 2) ค่านิยมทางเพศพบว่า มีทัศนคติที่ดีต่อการชมคลิปวิดีโอลามก 3) ค่านิยมต่อการทุจริต พบว่า นักเรียนและนิสิต-นักศึกษา ใช้เทคโนโลยีในการทุจริตการสอบเพิ่มมากขึ้น และ 4) ค่านิยมเกี่ยวกับการซื้อเทคโนโลยี พบว่า ขยะเครื่องคอมพิวเตอร์มีจํานวนเพิ่มสูงมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์ และปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อ. (2557). รับค่านิยมที่ผิดจะกลายเป็นบัณฑิตขาดจิตสํานึก. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 2429.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง
  • เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์ 
  • ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น