ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไกเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมในจังหวัดนครราชสีมา

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล แสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไก เสริมสร้างธรรมาภิบาล และพัฒนาบุคคล องค์กรต้นแบบการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานทางการศึกษา และภาคประชาสังคมในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษาสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีลักษณะสำคัญ 2 รูปแบบ ได้เเก่ ลักษณะการทุจริตที่มาจากตัวบุคคล และลักษณะการทุจริตที่เกิดจากการบริหารงานขององค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้ตำเเหน่งหน้าที่ในการเเสวงหาผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้อํานาจ บารมี และอิทธิพลในทางที่มิชอบของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ 5 กลุ่ม ได้เเก่ (1) นักการเมือง (2) ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ (3) ผู้รับเหมารายใหญ่ /พ่อค้า (4) ข้าราชการประจํา และ (5) ส่วนราชการที่กํากับดูแล/หน่วยงานระดับความมั่นคง
  • ผลจากการศึกษา พบว่าหน่วยงานทางการศึกษา ยังบริหารจัดการโดยขาดหลักธรรมาภิบาล ทําให้การทุจริตและคอร์รัปชันยังไม่ลดลง รวมถึงภาคประชาสังคมยังไม่ได้รับโอกาสให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย และตรวจสอบผลการดําเนินงาน ทําให้ประชาชน ผู้ปกครอง และนักเรียนขาดความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในชุมชนท้องถิ่นของตน
  • ผลจากการศึกษาและสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากร สามารถสรุปประเด็นและสถานการณ์เกี่ยวกับการคอร์รัปชันในสถานศึกษา ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) การเรียกรับเงินจากการซื้อขายตําแหน่ง และการเรียกรับประโยชน์จากการใช้อำนาจหน้าที่ เช่น การสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การโยกย้าย และการประเมินผลงาน เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ (2) การจัดซื้อจัดจ้าง หรือเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น การทุจริตในการสร้างสนามฟุตซอล และการฮั้วประมูลในสถานศึกษา และ (3) การเบียดบังเวลาและทรัพย์สินราชการ เช่น การใช้รถราชการไปทํางานส่วนตัว การใช้เวลาราชการในการขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น
  • ผลจากการศึกษาข้อเสนอเเนะของภาคประชาสังคม พบว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผล ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชันระหว่างหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมอย่างจริงจังและกว้างขวาง ต้องมีการรณรงค์สร้างจิตสํานึกในเรื่องธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเเก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องมีระบบร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสที่เข้มแข็ง และให้มีมาตรการลงโทษต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่ขาดธรรมาภิบาล และมีการทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้น
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ปรีชา อุยตระกูล, จิรัฐิพร ไทยงูเหลือม, สะปอย ชัยประเสริฐ, สันทนา ธรรมสโรจน์, รุ่งทิวา พลอยสุวรรณ์, อารีย์ ศรีอำนวย, ทวิสันต์ โลณานุรักษ์, อดิศักดิ์ ชมสูงเนิน ,พิมพ์พจี บรรจงปรุ, วลัญช์ชยา เขตบำรุง, พรทิพย์ คำพอ, วีระ พลอยครบุรี และปฐมเกียรติ ไชยคำ. (2561). โครงการประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • ปรีชา อุยตระกูล
  • จิรัฐิพร ไทยงูเหลือม
  • สะปอย ชัยประเสริฐ
  • สันทนา ธรรมสโรจน์
  • รุ่งทิวา พลอยสุวรรณ์
  • อารีย์ ศรีอำนวย
  • ทวิสันต์ โลณานุรักษ์
  • อดิศักดิ์ ชมสูงเนิน
  • พิมพ์พจี บรรจงปรุ
  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง
  • พรทิพย์ คำพอ
  • วีระ พลอยครบุรี
  • ปฐมเกียรติ ไชยคำ
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น