KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิกที่ทำตาม “40 ข้อแนะนำ” ขององค์กรป้องกันปราบปรามการฟอกเงินได้สำเร็จ

“40 ข้อแนะนำ” ป้องกันการฟอกเงินช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างไร ?

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Nyambaatar รัฐมนตรีของประเทศมองโกเลียได้ประกาศถึงความสำเร็จของการเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิก และเป็น 1 ใน 5 ประเทศของโลกที่ประสบความสำเร็จในการทำตาม “40 ข้อแนะนำ” ของ Financial Action Task Force (FATF) หรือองค์กรป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย สะท้อนให้เห็นถึงการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพในประเทศมองโกเลีย

โดย 40 ข้อแนะนำเป็นสิ่งกำหนดขึ้น เพื่อป้องกันการฟอกเงินจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NPO) ในการนำเงินไปใช้สนับสนุนก่อการร้ายทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้หลากหลายวิธีในการฟอกเงิน เช่น การใช้ฐานะนิติบุคคลเพื่ออําพรางการถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง การถือครองทรัพย์ที่ได้จากการกระทําผิดกฎหมาย ซึ่ง 40 ข้อแนะนำนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดการฟอกเงินขึ้นได้

ตัวอย่างเช่น ข้อแนะนำที่ 6 สถาบันการเงินควรมีระบบบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสำหรับลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องทางการเมือง และตรวจสอบธุรกิจของลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องการเมืองอย่างจริงจัง หรือข้อแนะนำที่ 38 ส่งเสริมให้มีหน่วยงานราชการสำหรับการดำเนินการที่รวดเร็วในการทำเรื่องระบุตัวตน อายัด ยึดทรัพย์สินที่ถูกฟอกเงินเมื่อมีการรายงานการกระทำความผิดจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตและการฟอกเงินที่อาจนำไปสู่การสนับสนุนการก่อการร้ายอีกด้วย

โดยรัฐมนตรี Nyambaatar ยังประกาศเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศมองโกเลียมีความโปร่งใสเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ปี 2566 นี้เป็น “Year of Fighting Corruption” หรือปีแห่งการต่อสู้กับคอร์รัปชัน

“เพราะการคอร์รัปชันเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของการฟอกเงินและการใช้อำนาจโดยมิชอบ ประเทศมองโกเลียจึงมุ่งมั่นที่จะกวาดล้างคอร์รัปชันให้หมดไป และส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการบริหารของรัฐ” Nyambaatar กล่าว

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิกที่ทำตาม “40 ข้อแนะนำ” ขององค์กรป้องกันปราบปรามการฟอกเงินได้สำเร็จ

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Nyambaatar รัฐมนตรีของประเทศมองโกเลียได้ประกาศถึงความสำเร็จของการเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิก และเป็น 1 ใน 5 ประเทศของโลกที่ประสบความสำเร็จในการทำตาม “40 ข้อแนะนำ” ของ Financial Action Task Force (FATF) …

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ชวนดูแนวทางใหม่ในการจัดการ “ปัญหาการฟอกเงิน” ของสหรัฐฯ ผ่านนโยบายที่บูรณาการร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

การฟอกเงินทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่สะอาด รัฐบาลสหรัฐฯ จึงต้องเร่งเเก้ไขก่อนผลร้ายจะลุกลาม

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น