KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ปัญหาสิทธิที่ดินมีทางเเก้ เเละเรื่มต้นเเล้วที่แอฟริกาใต้สะฮารา

ศึกษาปัญหาสิทธิในที่ดินของภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา…ที่ประเทศไทยก็สามารถนำแนวทางมาใช้ได้

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International; TI) ได้มีการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการเลือกปฏิบัติและการทุจริตในภาคที่ดินซึ่งทำให้พบถึงการทุจริต การเลือกปฏิบัติ และการไร้สิทธิในที่ดินในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) หรือที่เรียกว่า “การคอร์รัปชันที่ดิน”

การคอร์รัปชันที่ดินถือเป็นการคุกคามชีวิตและการดำรงชีวิตของผู้คนและชุมชน ทั้งในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม มิติทางด้านความมั่นคงทางอาหารและมิติทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย โดยได้มีการบันทึกผลกระทบของการทุจริตในที่ดิน เพื่อทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ในชุมชนกับแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อลดการเลือกปฏิบัติและการทุจริตในสิทธิที่ดิน ซึ่งการคอร์รัปชันที่ดินโดยส่วนมากเกิดขึ้นจาก “ความต้องการที่ดิน” เพราะ “วิกฤตอาหารทั่วโลก” จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทำให้ความพร้อมในการใช้งานที่ดินและการเข้าถึงแหล่งอาหารก็ลดลง ที่เมื่อวิกฤตการณ์ทั่วโลกรุนแรงขึ้นก็ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมที่สูงขึ้น

โดยได้มีการสำรวจเป็นครั้งแรกถึงพลวัตของการทุจริตที่เลือกปฏิบัติในภาคที่ดิน จาก 7 ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ กานา มาดากัสการ์ เคนยา แอฟริกาใต้ ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว ทำให้พบว่า “การคอร์รัปชันและการเลือกปฏิบัติส่งผลต่อสิทธิในที่ดิน” ซึ่งนอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าการทุจริตและการเลือกปฏิบัติมีความเกี่ยวพันกันหลายประการ

  1. การเลือกปฏิบัติส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของคอร์รัปชันมากขึ้นและการเลือกปฏิบัติยังกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทุจริตในหมู่ผู้กระทำผิดที่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่า
  2. การทุจริตบางประการเป็นการเลือกปฏิบัติโดยตรง ซึ่งมีความเชื่อมโยงเชิงสาเหตุโดยตรงระหว่างการกระทำที่ทุจริตกับการปฏิบัติที่แตกต่างต่อบุคคลหรือชุมชนที่ได้รับการคุ้มครอง ผ่านการสมรู้ร่วมคิดทุจริตระหว่างสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอิทธิพลทางการเมือง
  3. การคอร์รัปชันในธรรมาภิบาลที่ดินชนบทของชุมชนที่อยู่ชายขอบทางสังคมที่เป็นกลุ่มผู้ถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลกระทบของการคอร์รัปชันรุนแรงที่สุดจากการเสี่ยงต่อการสูญเสียสิทธิในการเข้าถึงที่ดินจากบรรพบุรุษ รวมถึงในอนาคต
  4. การเลือกปฏิบัติและการทุจริตส่งผลให้ถูกปฏิเสธความพยายามในการสร้างความยุติธรรม ซึ่งมักจะเป็นไปในลักษณะของความไม่เต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในกลไกการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ หรือแม้แต่การตอบโต้อย่างรุนแรงต่อนักต่อต้านการทุจริตและนักปกป้องสิทธิในที่ดิน
  5. การทุจริตขัดขวางประสิทธิผลของมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเท่าเทียมกัน ซึ่งนำไปสู่ความล้มเหลวในการรับรองความรับผิดชอบของผู้มีส่วนร่วมในโครงการความเสมอภาค

จากผลการวิจัยจึงทำให้ได้ข้อแนะนำที่เรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบและความโปร่งใสของข้อมูลในการกำกับดูแลที่ดิน ซึ่งควรดำเนินการในทันทีเพื่อปกป้องสิทธิในที่ดินของบุคคลและชุมชนที่อาจถูกคุกคามจากการทุจริตและการเลือกปฏิบัติ ผ่านการดำเนินการป้องกันการทุจริตที่ชัดเจนในทุกด้านของธรรมาภิบาลที่ดิน เช่น การเข้าถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ความสามารถในการตรวจสอบที่ดินและสิทธิการใช้งานที่ดินสาธารณะ รวมถึงการนำกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติที่ครอบคลุม (Comprehensive Anti-Discrimination Legislation) มาใช้งานอย่างเหมาะสมในรัฐนั้น ๆ

เช่นเดียวกันกับประเทศไทย เพราะจากการวิจัยของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กลุ่มงานวิจัยและวิเคราะห์มาตรการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติก็ยังพบปัญหาการมีสิทธิในที่ดินในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งการแก้ไขปัญหาสามารถเพิ่มแนวทางการป้องกันการทุจริตและส่งเสริมธรรมาภิบาลที่ดิน รวมถึงเพิ่มแนวทางการแก้ไขด้วยการนำกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติที่ครอบคลุม (Comprehensive Anti-Discrimination Legislation) มาใช้งานผ่านการปรับให้เข้ากับบริบทของที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I รู้จัก Green Corruption โครงการป้องกันการคอร์รัปชันด้านสิ่งแวดล้อม

เราต่างรู้กันดีว่าคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกและส่งผลอย่างรอบด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือด้านสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในหน่วยงานที่กำลังต่อสู้กับปัญหานี้อยู่คือ Basel Institute on Governance องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร …

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ปัญหาสิทธิที่ดินมีทางเเก้ เเละเรื่มต้นเเล้วที่แอฟริกาใต้สะฮารา

ศึกษาปัญหาสิทธิในที่ดินของภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา…ที่ประเทศไทยก็สามารถนำแนวทางมาใช้ได้ โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติได้มีการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการเลือกปฏิบัติและการทุจริตในภาคที่ดิน

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น