การตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของข้าราชการคือกุญแจสำคัญของการแก้ปัญหาสินบน
อย่างที่เรารู้กันว่า “สินบน” เป็นรูปแบบหนึ่งของการคอร์รัปชันที่รุนแรงซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำลายระบบบริหาร และสร้างผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงฟิจิ ประเทศบนเกาะในภูมิภาคโอเชียเนีย จึงทำให้ประธานาธิบดีของฟิจิประกาศแคมเพน “I don’t accept bribes” หรือแปลเป็นไทยว่า “ฉันไม่รับสินบน” เพื่อลดการรับสินบนในระบบราชการ
แคมเพนนี้เปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ซึ่งตรงกับวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล Jioji Konrote ประธานาธิบดีฟิจิจึงได้ใช้โอกาสนี้เป็นการเปิดตัวแคมเพนดังกล่าว โดยดำเนินการผ่านองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันอิสระประเทศฟิจิ (Fiji Independent Commission Against Corruption : FICAC) ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคแปซิฟิก (UN Pacific Regional Anti-Corruption : UN-PRAC) ซึ่งประธานาธิบดียังได้กล่าวว่า “การคอร์รัปชันโดยเฉพาะการติดสินบน เป็นภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายที่รุนแรงกับเศรษฐกิจ”
แคมเพนได้จัดฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยงานราชการและหน่วยงานด้านกฎหมาย โดยหากผ่านการฝึกอบรมจะได้รับตรา “I don’t accept bribes” เพื่อสวมใส่ให้เห็นว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรต่อต้านการทุจริตแล้ว และในงานเปิดตัว Rashmi Aslam รองประธานกรรมการ FICAC ยังได้ออกมากล่าวกับข้าราชการในฟิจิว่า “การตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของพวกคุณในการรณรงค์ต่อต้านการรับสินบนเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาสินบนให้กับประเทศได้”
ปัจจุบันแคมเพน “I don’t accept bribes” ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2564 และครอบคลุมหน่วยงานรัฐ 82 แห่งในประเทศฟิจิ
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด ต้นเหตุการเสียงบประมาณรัฐหลักพันล้าน
“รถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด” เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างรุนแรง ซึ่งการปล่อยให้มีการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดส่วนหนึ่งเกิดจากการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนและปล่อยปละละเลยรถบรรทุกเหล่านี้
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย
“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ
จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)