ฟ้องโกงในยูเครน มีโอกาสได้เงินถึง 14 ล้าน ?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนไม่กล้าแจ้งปัญหาทุจริตทั้ง ๆ ที่ก็รู้ว่าคนไหนโกง เพราะทุกคนต่างก็กลัวว่า ถ้าฟ้องไปแล้วจะเดือดร้อน ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทยแต่ที่ยูเครนเองก็เช่นกัน
ล่าสุด National Agency on Corruption Prevention (NACP) หรือคล้าย ๆ กับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในไทย ได้คิดวิธีแก้ปัญหาโดยเปิดแพลตฟอร์ม “Whistleblower” ให้พนักงานในองค์กร สามารถแจ้งปัญหาทุจริตได้โดยที่ไม่ต้องเปิดเผยชื่อหรือตำแหน่ง และหากคดีที่แจ้งไปแล้วศาลตัดสินว่ามีความผิดจริง ผู้ที่แจ้งจะได้รับเงินจำนวน 10 % เป็นรางวัล โดยนับจากมูลค่าความเสียหายจากคดีทุจริตที่เกิดขึ้น แต่ไม่เกิน 14 ล้านฮริฟเนียยูเครน หรือประมาณ 14 ล้านบาทไทย (ซึ่งปัจจุบันกำลังพิจารณาว่าอาจจะมีการเพิ่มวงเงินสูงสุดของเงินรางวัล)
Oleksandr Novikov ประธานของ NACP ยังได้ออกความเห็นว่า “การแจ้งเบาะแสมีความสำคัญมาก ถ้าทุกคนไม่ได้มีส่วนร่วมในการแจ้งทุจริต หรือไม่สนใจ การแก้ปัญหาคอร์รัปชันก็จะเป็นไปได้ยาก” และยังบอกอีกว่า ตอนนี้มี 1 คดีที่ได้รับแจ้งและกำลังสอบสวนอยู่ ถ้าผลคดีออกมาศาลตัดสินว่าผิดจริง คดีนี้จะเป็นคดีแรกในยูเครนที่มีการจ่ายเงินให้กับผู้แจ้งเบาะแส นี่นับว่าเป็นหนึ่งในแนวทางน่าสนใจที่จะทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับการแจ้งปัญหาทุจริตแบบไม่เปิดเผยตัวตนและยังได้รับเงินรางวัล ซึ่งในอนาคตก็อาจทำให้ทุกคนอยากมีส่วนร่วมมากขึ้นและลดการคอร์รัปชันลงได้
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต
การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต
ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”
กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน