KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I มาเลเซียเดินหน้า ติดตามเงินคืนจากคดีคอร์รัปชันกว่าแสนล้านบาท

รู้จัก “1MDB” คดีคอร์รัปชันที่ใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1MDB คือกองทุนที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2552 ตามนโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย นาจิบ ราซัค (Najib Razak) ซึ่งตั้งใจจะนำเงินทุนสำรองของประเทศไปลงทุนเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ แต่ในปี 2559 มีการสืบสวนพบว่า กองทุน 1MDB มีการคอร์รัปชันเป็นเงินกว่า 4,500 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 150,000 ล้านบาท เพราะนาจิบ ราซัค และพรรคพวกได้ยักยอกเงินของประเทศเข้าไปในบัญชีตนเอง และนำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือยทำให้ต้องถูกดำเนินคดี “1MDB” จึงกลายเป็นที่รู้จักในชื่อของหนึ่งในคดีคอร์รัปชันที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตาม ปี 2566 ที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียมีการประกาศว่าจะติดตามเงินที่สูญเสียไปจากการคอร์รัปชันในกองทุน 1MDB และเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 โดย MACC หรือหน่วยงานต่อต้านการทุจริตประเทศมาเลเซีย ได้มีการออกแถลงการณ์ครบรอบ 13 เดือนที่ได้ติดตามเงินที่สูญเสียไป ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียได้รับเงินคืนมาแล้วทั้งหมด 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 175 ล้านบาท

โดยความสำเร็จในการติดตามเงินคืนครั้งนี้มาจากการให้ความร่วมมือของกลุ่มคนที่เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในคดีคอร์รัปชันกองทุน 1MDB และจากการตัดสินพิพากษานายโรเจอร์ อึ้ง (Roger Ng) อดีตพนักงานของ Goldman Sachs ที่มีส่วนร่วมในการฟอกเงินกองทุนเมื่อปีที่ผ่านมา โดยรายละเอียดทรัพย์สินที่ยึดคืนกลับมาได้คือ เงินจำนวน 954,679 ดอลลาร์ คอนโดมิเนียมมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ ทรัพย์สินจากบริษัทมาเลเซียและสิงคโปร์ 2.5 ล้านดอลลาร์

แม้ 5 ล้านดอลลาร์ที่ติดตามคืนมาได้จะดูน้อยเมื่อเทียบ 4,500 ล้านดอลลาร์ที่เสียไป แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลมาเลเซียในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย ที่จะถอดรหัสความสำเร็จและนำไปเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อติดตามเงินที่สูญเสียไปจากการคอร์รัปชันกลับคืนมา

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี

หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น