กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย

ศึกษากระบวนการขอสัมปทานการเก็บรังนกถ้ำ และการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงประเมินความเหมาะสมในกระบวนการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกถ้ำจากกรณีการทุจริตที่ผ่านมา

ธุรกิจรังนกถ้ำในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง และมีการจำกัดการเข้ามาประกอบธุรกิจด้วยกระบวนการสัมปทานตามกฎหมาย ซึ่งถ้าหากขาดการตรวจสอบและป้องกันที่ดีแล้ว จะเปิดโอกาสให้มีการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการทุจริตได้ เมื่อประกอบกับการที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและการให้สัมปทานรังนกถ้ำ เข้าถึงได้ยากและขาดความโปร่งใสแล้ว จึงทำให้ความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมุ่งศึกษากระบวการขอสัมปทานการเก็บรังนกถ้ำ และการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงประเมินความเหมาะสมในกระบวนการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกถ้ำ จากกรณีการทุจริตที่ผ่านมา พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา และออกแบบนโยบายป้องกันการทุจริตจากการให้สัมปทานจากธุรกิจรังนกถ้ำ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่ากระบวนการนี้ มีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริต ที่สามารถอธิบายผ่านกรอบทฤษฎีตัวการ-ตัวแทน (Principal-Agent) ได้ ซึ่งจุดเสี่ยงหลักนั้นมีอยู่ 3 จุด ได้แก่ (1) คณะกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมกระบวนการสัมปทานตั้งแต่ต้นจนจบอย่างเบ็ดเสร็จ (2) การขาดระบบการตรวจสอบที่เหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างและสภาวการณ์ของอุตสาหกรรมรังนกถ้ำที่ข้อมูลมีความไม่สมมาตร หรือการขาดข้อมูลและข้อมูลขาดความโปร่งใส และ (3) ผู้ดำเนินงานตามระเบียบและข้อกำหนดเป็นบุคคลที่อยู่ในคณะกรรมการ ร่วมกันทั้งสิ้น และมีหน้าที่ตรวจสอบการมอบและรับเงินอากรเหล่านั้นเองด้วย โดยไม่มีกระบวนการตรวจสอบจากบุคคลภายนอกคณะกรรมการ อย่างเป็นทางการ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสสู่การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่อาจเกี่ยวข้องกับการทุจริตได้
  • เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่นำไปสู่การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตในการสัมปทานรังนกถ้ำในประเทศไทยนั้น คณะผู้วิจัย จึงนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการให้สัมปทาน และการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ธุรกิจรังนกถ้ำ 3 ประการ ดังนี้ (1) เสนอให้มีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนก ให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลกันได้ (2) กำหนดกระบวนการตรวจสอบเฉพาะเจาะจงสำหรับการให้สัมปทานรังนกที่ชัดเจน ด้วยการใช้กลไกของคณะกรรมการตรวจสอบดังที่นำเสนอไปในข้อที่หนึ่ง และขอคำแนะนำจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐ เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อนำมาพัฒนาแนวทางการตรวจสอบที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ต่อไป (3) จัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อเสนอแนะข้อนี้มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นพื้นฐานในการออกแบบปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะสองข้อแรก เนื่องจากปัญหาสำคัญของการสัมปทานนี้ คือการขาดข้อมูลและข้อมูลขาดความโปร่งใส ซึ่งรวมถึงการที่ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไม่มีมาตรฐาน ขาดความต่อเนื่อง และถูกบิดเบือนโดยไม่มีการตรวจสอบ
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และวัชรพงศ์ รติสุขพิมล. (2562). กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ต่อภัสสร์ ยมนาค
  • วัชรพงศ์ รติสุขพิมล
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

บทความวิจัย : การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริต

การรวบรวมกรณีศึกษาเกี่ยวกับคดีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยโดยทุจริตทั้งในและต่างประเทศ เพื่อศึกษาแนวทางการตัดสินคดี

สู่ความชัดเจนในระเบียบธรรมาภิบาล: ประเด็นสืบเนื่องจากกรณีการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น

มุ่งศึกษากฎหมายของไทย ผลของการบังคับใช้กฎหมาย เเละเเนวปฎิบัติที่ดีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอเเนะของไทย เช่น การประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย

การผูกขาดทางธุรกิจกับการเมือง

ศึกษาวิธีการที่กลุ่มทุนใช้อำนาจทางการเมืองครอบงำกลไกการกำกับดูแลของภาครัฐ โดยใช้กรณีศึกษาของการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้กลไกของรัฐที่ให้การคุ้มครองและความเป็นธรรมแก่ประชาชนต้องถูกบิดเบือน

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ