KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I หน่วยงานต้านโกงยุโรป เรียกร้องโปรตุเกส “ปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชัน”

ไม่ดีตรงไหน ? โปรตุเกสต้องปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อแก้ปัญคอร์รัปชัน

วันที่ 10 มกราคม 2024 ที่ผ่านมา The Council of Europe’s Group of States against Corruption (GRECO) หรือหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันแห่งสภายุโรปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการทุจริตเรียกร้องต่อรัฐบาลโปรตุเกส เรื่องการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากการประเมินภาพรวมการทุจริตรอบที่ห้า (five evaluation rounds) ของ GRECO พบว่าหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันและความโปร่งใสในประเทศโปรตุเกสยังทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ

โดย GRECO เสนอว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐควรได้รับการตรวจสอบความโปร่งใส ก่อนเข้ารับตำแหน่งและหลังออกจากตำแหน่ง รวมถึงต้องมีการเปิดบัญชีทรัพย์สินให้สาธารณชนได้รับรู้ ต้องปรับปรุงระบบการรับฟังความเห็นของประชาชน และเปิดข้อมูลให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้

ในส่วนหน่วยงานรัฐ ทั้งหน่วยงานตำรวจ (Public Security Police : PSP) และกองกำลังทหารแห่งชาติ (National Republican Guard : GNR) ต้องมีการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานอย่างโปร่งใสและยุติธรรม อีกทั้งยังต้องเพิ่มบุคลากรเพศหญิงให้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ และเพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแสทุจริต ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มาจากคำแนะนำ 28 ข้อที่ GRECO ได้ประเมินให้กับประเทศโปรตุเกส และจะมีการประเมินอีกครั้งภายในปี 2568

สุดท้าย GRECO ได้กล่าวว่า คำแนะนำทั้งหมดไม่ได้กล่าวลอย ๆ ขึ้นมา แต่มาจากเหตุการณ์คอร์รัปชันที่เกิดขึ้นและการทำงานของรัฐบาลโปรตุเกสเมื่อปีที่ผ่านมา อย่างกรณีการลาออกของอดีตนายกฯ Antonio Costa เพราะพัวพันกับการทุจริต อีกทั้งยังมีผลสำรวจที่บอกว่าคนในประเทศโปรตุเกสมองว่าคอร์รัปชันในประเทศมีความรุนแรงและเลวร้ายลงเรื่อย ๆ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่องการตรวจสอบทรัพย์สินเจ้าหน้าที่รัฐ : บทเรียนจาก 3 ชาติ

ความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน KRAC จึงอยากชวนมาดูกลไกการตรวจสอบทรัพย์สินของสหรัฐฯ จอร์เจีย และฮ่องกง พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | How to โปร่งใส : แก้ปัญหาทุจริตเชิงนโยบายสไตล์ญี่ปุ่น

“ทำลายจุดอ่อนเสริมจุดแข็ง” KRAC ชวนดูวิธีการปฏิรูประบบการบริหารราชการและการกำหนดนโยบาย รวมถึงการดำเนินการทางกฎหมายกรณีทุจริตเชิงนโยบายของประเทศญี่ปุ่น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 ชาติ 4 แนวทาง หยุดทุจริตเชิงนโยบาย

เคยได้ยินชื่อของ “คดีทุจริตคลองด่าน” กันไหม ? นี่คือหนึ่งในคดีทุจริตครั้งใหญ่ของประเทศไทยที่สร้างความเสียหายเป็นเงินกว่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งการทุจริตที่ทำกันอย่างเป็นระบบจากคนหลายฝ่าย แบบนี้เราเรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น