KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I อุซเบกิสถานจับมือ UNODC เร่งพัฒนากรอบการทำงานต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน

อุซเบกิสถานร่วมกับภาคีระดับนานาชาติต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการปรับปรุงนโยบายระดับชาติ มุ่งเน้นการร่วมงานกับเยาวชนที่จะส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมที่ทุกคนจะไม่ยอมทนต่อการทุจริต


สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (The Republic of Uzbekistan) มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับจากดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index) จากการปรับปรุงกลยุทธ์อย่างมีนัยสำคัญของการดำเนินงานของสำนักงานต่อต้านการทุจริตของอุซเบกิสถาน (The Anti-Corruption Agency of The Republic of Uzbekistan) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime; UNODC) ที่ได้มีการลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (the United Nations Convention against Corruption; UNCAC) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการสำคัญเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการต่อสู้กับการทุจริต โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนากรอบการทำงานด้านการต่อต้านการทุจริตของสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน

หลังจากการลงนามในอนุสัญญาก็ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารยุโรปเพื่อการบูรณะและพัฒนา (the European Bank for Reconstruction and Development; EBRD) และได้รับการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดย UNODC ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและภาคเอกชนในการต่อต้านทุจริตภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งสภาสาธารณะภายใต้สำนักงาน เพื่อการฝึกอบรมต่อเนื่องเกี่ยวกับกลไกการทบทวนการดำเนินงานตามที่ได้มีการกำหนดไว้ของ UNCAC จึงได้แผนปฏิบัติการใหม่ที่เน้นการปรับปรุงนโยบายระดับชาติ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการดำเนินงานของ UNCAC และส่งเสริมวัฒนธรรมการไม่ทนต่อการทุจริต

จึงได้มีการรวบรวมและประสานงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งองค์กรหรือหน่วยงานนานาชาติและผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่ได้ร่วมลงนามไว้ใน UNCAC โดยการดำเนินงานในครั้งนี้จะเน้นที่ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของความพยายามในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เช่น การจัดการฝึกอบรมการต่อต้านการทุจริตเป็นประจำให้กับครูโรงเรียนมัธยมและเจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองต่าง ๆ การฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีวิจัย การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในที่สาธารณะ และการสร้างขีดความสามารถในการตรวจสอบกฎหมายต่อต้านการทุจริต ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกับเยาวชนเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ว่าด้วยการไม่ยอมทนต่อการทุจริต (Culture of Lawfulness and Zero Tolerance to Corruption)

ความร่วมมือนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งต่อความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในอุซเบกิสถาน โดยครอบคลุมถึงภาคส่วนอื่น ๆ ที่มาและความสำคัญเช่นกัน อย่างการดูแลสุขภาวจิตของบุคคลที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการใช้สื่อมวลชนเชิงสืบสวน และการสนับสนุนการศึกษาในกลุ่มเยาวชน ซึ่งการสนับสนุนอย่างครอบคลุมของ UNODC จะเป็นการเสริมสร้างกรอบการต่อต้านการทุจริตในสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน

ปัจจุบัน รัฐไทยก็ได้มีการลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption; UNCAC) เช่นกันแต่มุ่งเน้นในการเป็นรัฐภาคีเพื่อการเป็นผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน ซึ่งรัฐไทยก็สามารถที่จะนำกลยุทธ์การต่อต้านคอร์รัปชัน ทั้งการดำเนินงานร่วมกับเยาวชน รวมถึงการสนับสนุนอย่างครอบคลุมและรอบด้านเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

เช่น การดูแลสุขภาพจิตของบุคคลที่เกี่ยวข้องและการส่งเสริมการใช้สื่อมวลชนเชิงสืบสวน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์หรือการดำเนินการ ที่อาจทำให้ประเทศไทยเกิดการทุจริตและการคอร์รัปชันที่ลดน้อยลงผ่านการแก้ไขปัญหาการทุจริตและคอร์รัปชันในไทยอย่างยั่งยืน เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันและการสร้างวัฒนธรรมที่ว่าด้วยการไม่ยอมทนต่อการทุจริต

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ