KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ฮังการีสร้างแนวทางแก้กลโกง การฮั้วประมูลการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ

การฮั้วในการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะจะแก้ไขอย่างไร…วันนี้ที่ฮังการีมีแนวทางแล้ว

ประเทศฮังการี ได้มีการเผยแพร่คำแนะนำบนเว็บไซต์ของหน่วยงานการแข่งขันทางการค้าของฮังการี (the Hungarian Competition Authority; HCA) และหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ (the Public Procurement Authority) เกี่ยวกับความเสี่ยงในการทุจริตและการตกลงร่วมกันทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจหรือ “การฮั้ว” ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมของการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ

คำแนะนำดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายดังนี้

  1.  เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานและผู้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่จะทำสัญญาเกี่ยวกับการประมูลเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ
  2. เพื่อให้รับทราบและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทุจริตในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างภาครัฐ
  3. เพื่อให้รับทราบถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงลักษณะของการตกลงร่วมกันทางการค้าของผู้ประมูล

นอกจากหน่วยงานการแข่งขันทางการค้าของฮังการีและหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะของฮังการีจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทันสมัยแล้ว คำแนะนำดังกล่าวยังครอบคลุมถึงวิธีป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในมิติต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะต่อหน่วยงานรัฐที่มีการดำเนินการให้เกิดการประมูลและการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่เป็นธรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุดของการดำเนินงาน

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงบทลงโทษต่อกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่ตกลงร่วมกันทางการค้าเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ ที่เมื่อจัดการประมูลโครงการก็มักจะสมรู้ร่วมคิดกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ โดยได้มีการกล่าวถึงบทลงโทษไว้ ดังนี้

  1. ค่าปรับซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานการแข่งขันทางการค้า
  2. การยกเว้นจากการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะในอนาคต
  3. การจำคุก
  4. การบังคับใช้กฎหมายของเอกชน เช่น การเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินกิจการ

อีกทั้งยังมีการเปิดช่องทางบนเว็บไซต์เพื่อการแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกัน “ฮั้ว” โครงการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ประมูลบางรายกำลัง ที่สามารถจะแจ้งให้หน่วยงานการแข่งขันทางการค้าของฮังการี (the Hungarian Competition Authority; HCA) ทราบเพื่อดำเนินการพิจารณาและดำเนินการลงโทษในทันทีก่อนที่จะมีการดำเนินงาน

การเผยแพร่คำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงในการทุจริตและการตกลงร่วมกันทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจหรือ “การฮั้ว” ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นธรรมของการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ ถือเป็นแนวทางที่ดีเพราะนอกจากจะสร้างความตระหนักรู้แล้ว ยังถือเป็นการสร้างแพลตฟอร์มที่ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลเพื่อทำให้การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะสามารถตรวจสอบได้ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่โปร่งใส พร้อมทั้งการเปิดพื้นที่ที่ให้ประชาชนร่วมแจ้งเบาะแสเพื่อนำไปสู่การตรวจสอบ

ซึ่งประเทศไทยก็สามารถที่จะนำแนวทางการเข้าถึงข้อมูลและการสร้างการมีส่วนร่วมที่ฮังการีมีการดำเนินงานมาใช้เป็นแบบอย่างในการทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสมากขึ้นได้

ที่มา
  •   – Hungary: Authorities stress the importance of the fairness of public procurements
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?

ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก “3 พันธมิตร” ต้นตอของการคอร์รัปชันในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ หมายถึงโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 1 พันล้านบาทขึ้นไป หรือที่เรามักได้ยินว่า “เมกะโปรเจกต์” (Mega Project) และด้วยการที่เป็นโครงการที่มีงบประมาณจำนวนมาก การทุจริตในโครงการประเภทนี้จึงสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับงบประมาณประเทศ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ประเทศมหาอำนาจ มีแนวทางแก้ปัญหาคอร์รัปชันท้องถิ่นอย่างไร ?

ชวนศึกษารูปแบบองค์ปกครองท้องถิ่นสหรัฐฯ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีทั้งการเมืองที่มั่นคง เศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีอิทธิพลต่อโลกในหลายด้าน เช่น วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังสามารถจัดการคอร์รัปชันได้ดีเป็นอันดับที่ 24 ของโลกจากการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริตขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น