เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ปัญหาคอร์รัปชัน เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ที่นำไปสู่การสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมให้กว้างมากขึ้น ดังนั้น การปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจในเรื่องการคอร์รัปชัน จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้และทัศนคติของผู้คนในสังคมที่มีจะต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน และจะนำไปสู่การแก้ปัญหาคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นได้ในสังคม และช่วยเปลี่ยนประชาชนจาก Trainees ให้เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการต่อต้านคอร์รัปชัน

ปัญหาคอร์รัปชัน ถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ที่นำไปสู่การสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมให้กว้างมากขึ้น ดังนั้น การปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจในเรื่องการคอร์รัปชัน จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้และทัศนคติของผู้คนในสังคมที่มีจะต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน และจะนำไปสู่การแก้ปัญหาคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นได้ในสังคม

ศูนย์ KRAC จึงขอนำเสนอบทความ Anti-Corruption 101 ที่จะเป็นการปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการของศาสตร์ต่าง ๆ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันเชิงปฏิบัติอย่างเป็นระบบที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย ทั้งในส่วนของการอธิบายหลักการและทฤษฎีทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคอร์รัปชันในภาพรวมเชิงบูรณาการกับศาสตร์ต่าง ๆ และการศึกษาถึงแนวคิดและวิธีการในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันผ่านการประยุกต์ใช้มุมมองและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับปัญหาคอร์รัปชันในบริบทที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการอธิบายโดยเฉพาะเจาะจงถึงสถานการณ์ปัญหาคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย เพื่อให้เห็นถึงความสำเร็จและอุปสรรคของภาคปฏิบัติการของการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงการสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันมากขึ้น

ในชุดบทความ Anti-Corruption 101 แบ่งชุดบทความ (Series) ออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 10 บทความ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน และสถานการณ์คอร์รัปชันที่มีความครอบคลุม รวมถึงนำเสนอตัวอย่างแนวทางในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผลในสังคม โดยมีรายละเอียดของชุดบทความต่าง ๆ ดังนี้

Series 1 : เข้าใจคอร์รัปชันฉบับ Starter 

ชุดบทความซึ่งรวบรวมการอธิบายหลักการและทฤษฎีทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคอร์รัปชัน ผ่านมุมมองที่บูรณาการโดยศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อการคอร์รัปชันในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และช่วยปูพื้นฐานให้กับผู้ที่มีความสนใจและต้องการที่จะเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน โดยครอบคลุมถึงนิยาม ประเภท สาเหตุ และผลกระทบของการคอร์รัปชัน รวมถึงแนวทางการวัดประเมินสถานการณ์การคอร์รัปชันในปัจจุบัน เพื่อให้รู้เท่าทันการคอร์รัปชันรูปแบบต่าง ๆ และมีความเข้าใจถึงผลกระทบของการคอร์รัปชันที่มีต่อสังคม

ผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

Series 2 : How to ต่อต้านคอร์รัปชันให้ได้ผล

ชุดบทความที่อธิบายถึงวิธีการและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และอธิบายรูปแบบเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันและถูกใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงกระบวนการในการต่อต้านคอร์รัปชันที่หลากหลาย รวมถึงทำให้ผู้ที่สนใจสามารถนำวิธีการต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

ผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

Series 3 : ประเทศไทยและการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน

ชุดบทความนำเสนอสถานการณ์ปัญหาคอร์รัปชันและการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของปัญหา และความพยายามของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การต่อยอดและประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่มีอยู่ เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ผู้ที่สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

การเข้าใจพื้นฐานของการคอร์รัปชันและการทำงานในด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้คนในสังคม สามารถรู้เท่าทันและตระหนักถึงปัญหาการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสังคม เเละเกิดความตื่นตัวของภาคประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นรากฐานของการสร้างระบบนิเวศในการต่อต้านการคอร์รัปชันที่เข้มแข็ง และมีส่วนช่วยให้การคอร์รัปชันในสังคมลดลงได้ ด้วยองค์ความรู้ที่จะช่วยเปลี่ยนประชาชนจาก Trainees ให้กลายเป็น Rookies ตัวท็อปของวงการต่อต้านคอร์รัปชันในที่สุด

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

ใช้เทคโน for say no to Corruption

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนในการต่อต้านการคอร์รัปชัน ช่วยเพิ่มโอกาสของประชาชนในการรายงานการทุจริต …

แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้การร่วมมือต่อต้านคอร์รัปชันในไทยไม่ได้ผล

ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การสร้างความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านแรงจูงใจ ด้านกลไกระหว่างองค์กร และด้านบุคคล …

แล้วอะไรคือคอร์รัปชัน

การศึกษานิยามของคำว่า “คอร์รัปชัน” มีต้นกำเนิดและความหมายที่ถูกอธิบายผ่านองค์ความรู้ในการมองเรื่องของการคอร์รัปชันที่แตกต่างหลายหลาย แต่จุดร่วมที่สำคัญประการหนึ่งของการให้คำนิยามการคอร์รัปชัน คือ…

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ตุลาการธิปไตย (Juristocracy) : ตัวแทนแห่งความยุติทำ จะลงทัณฑ์แกเอง

“อย่าล้อเล่นกับระบบ” คำที่มาจากการหยอกล้อหรือใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมเริ่มกลายเป็นความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ขึ้นมาท่ามกลางความวุ่นวายในปัจจุบันที่อาจดึงการเมืองของประเทศไทยให้ถอยหลังกลับสู่ความมืดมนและไร้เสถียรภาพ…

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I iacc 2024 ชี้ การทุจริตและระบบเผด็จการ คือจุดร่วมของภัยคุกคาม ย้ำทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นไปได้ยาก !

เมื่อช่วงวันที่ 18 – 21 มิถุนายน 2567 สภานานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (IACC Council) ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (International Anti-Corruption Conference: IACC) หรือ #IACC2024 ที่เมืองวิลนีอุส โดยมีประเทศลิทัวเนียเป็นเจ้าภาพ

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)